Rolex Story: A Full-Circle of In-house Watch Maker

กลับมาอีกครั้งนะครับ หลังจากหายไปนานจากการเขียน blog ทั้งเรื่องของการแต่งตัว และนาฬิกา

เนื่องจากผมมีโอกาสได้อ่านบทความที่เกี่ยวกับนาฬิกาแบรนด์นึง ที่ผมคิดว่าทุกคนคงรู้จักกันดี นั่นก็คือนาฬิกา Rolex นั่นเองนะครับ และจากการที่ผมได้มีโอกาส เป็นเจ้าของและใช้งานนาฬิกาแบรนด์นี้ มาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537) ทำให้ผมมีความชื่นชม และไว้วางใจกับนาฬิกา Rolex เป็นอย่างมาก

ผมคิดว่าเพื่อนๆ ทุกคนคงพอจะทราบข้อมูลพื้นฐานของนาฬิกาแบรนด์นี้กันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา รุ่น Iconic ต่างๆ และในเรื่องของคุณภาพของวัสดุ ความเที่ยงตรงและความทนทานของกลไกขับเคลื่อน

แต่ผมคิดว่าเพื่อนๆ หลายๆคนคงยังไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว นาฬิกา Rolex มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร ที่ว่าทำทุกอย่าง in-house นั้น รายละเอียดจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร แต่ที่รู้กันแน่ๆ คือว่าผลิตในประเทศสวิสฯ ^_^

ดังนั้นวันนี้ผมอยากขอถือโอกาสนี้ แบ่งปันข้อมูลที่ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ จากที่ผมได้อ่านบทความ “Geography of Excellence” ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร “The Rolex Magazine issue#11”

ขอเริ่มกันเลยนะครับ

อย่างที่ผมเกริ่นนำไปว่า เพื่อนๆ ทุกคน คงจะทราบกันดีว่า Rolex is Swiss Made และคงพอจะเดากันได้ว่า น่าจะอยู่ในเมือง Geneva ซึ่งก็ถูกต้องครับ เพราะสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Geneva แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งเมืองที่เกี่ยวข้องคือเมือง Bienne (ออกเสียงว่า “เบียน”)

จากที่ทุกคนได้ทราบข้อมูลมาว่า Rolex ออกแบบ พัฒนา ผลิตชิ้นส่วน ประกอบ ทดสอบ และตรวจสอบคุณภาพ ทุกขั้นตอนภายใต้โรงงานของ Rolex เองทั้งหมด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 โลเคชั่นหลักๆ ที่น่าสนใจมากคือ นาฬิกาทุกเรือนจะเดินทางเป็นวัฏจักรดังนี้ครับ

  • Geneva – Les Acacias I: Creators of Design 
  • Plan-les-Ouates (ออกเสียงว่า พล็อง-เล-ว็อท): Masters of Materials
  • Bienne (ออกเสียงว่า เบียน): Artisans of Movement
  • Chêne-Bourg (ออกเสียงว่า เชน-เบิร์ก): Alchemists of Beauty
  • Geneva – Les Acacias II: Custodians of the Seal

โดยทาง Rolex จะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละโลเคชั่น ดังนี้

Photo credit: www.rolexmagazine.com
  • CREATORS OF DESIGN: จุดกำเนิด การวิจัยและพัฒนาต้นแบบ และงานออกแบบ อยู่ที่ Geneva – Les Acacias I
    • ณ ที่ตั้งอาคาร Rolex ใน Acacias แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ อันเป็นที่ทำงานของ ผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายบริหาร และรวมไปถึง เวิร์คช็อปสำหรับการประกอบชิ้นส่วนนาฬิกาในขั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งศูนย์ทดสอบ Superlative Control Testing อีกด้วย (ผมจะขอกลับมาอธิบายละเอียดอีกครั้ง ในหัวข้อ Geneva – Les Acacias II)
    • สำหรับขั้นตอนแรกของการผลิตนาฬิกา ทีมงานที่สำคัญที่อยู่ ณ สำนักงานแห่งนี้คือ ทีมงานวิจัย และพัฒนา และ ทีมงานออกแบบ
    • โดยที่ไอเดียสำหรับการผลิตนาฬิการุ่นใหม่ๆ ของ Rolex นั้น อาจจะใช้เวลาในการพัฒนานานหลายปี โดยเป็นการทดลอง และทดสอบไอเดียกัน ระหว่างทีมงานนักวิจัยฯ​ และทีมออกแบบ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของศาสตร์ต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น นักเคมี นักวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ นักวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง นักสถิติ รวมไปถึง นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ จนสามารถพัฒนาการไปถึงการผลิตนาฬิกาต้นแบบ
    • หลังจากได้นาฬิกาต้นแบบออกมา ผ่านการปรับแบบในแง่ของการออกแบบ จนถูกพัฒนาไปจนถึงการผลิตนาฬิกาต้นแบบที่ทำงานได้จริง (functioning prototypes) ซึ่งหลังจากนี้จะถูกนำไปทดสอบการทำงาน และความอึด ถึก ทน ตามคุณสมบัติเฉพาะตัวของนาฬิกา Rolex
    • โดยการทดสอบดังกล่าว จะมีการจำลองลักษณะการเคลื่อนไหว และการใช้งานของมนุษย์จริงๆ เช่น การทดสอบการทนการกระแทก (shock resistance) ผ่านการจำลองเหตุการณ์มากกว่า 20 รูปแบบ การจำลองการใช้งานผ่านกาลเวลา (aging and mechanical wear and tear) โดยที่ทาง Rolex ได้มีการใช้หุ่นยนต์ และเครื่องทดสอบที่ออกแบบ เพื่อใช้กับทาง Rolex โดยเฉพาะ ซึ่งหุ่นยนต์และเครื่องทดสอบดังกล่าว สามารถจำลองการใช้งานนาฬิกา 1 ปี ด้วยการใช้เวลาเพียง 2 วันครึ่งเท่านั้น
    • เราจะเห็นได้ว่า Rolex ให้ความสำคัญกับการทำงานของกลไกให้ทนทานในระยะเวลาอันยาวนาน ผ่านการทดสอบอันหนักหน่วง ด้วยเหตุนี้ นาฬิการุ่นใหม่ของ Rolex ทุกเรือนจึงใช้เวลาพัฒนาที่ยาวนานเพื่อให้แน่ใจว่า นาฬิกาต้นแบบนั้นพร้อมที่จะส่งต่อไปยังขั้นตอนการผลิตจริงต่อไป
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • MASTERS OF MATERIALS: ปรมาจารย์ด้านวัสดุ และคลังนิรภัยเก็บโลหะมีค่าใต้ดินที่ Plan – les – Ouates (ออกเสียงว่า พล็อง-เล-ว็อท)
    • เนื่องจากที่ทำการแห่งนี้ต้องมีการจัดเก็บวัสดุ และโลหะมีค่าประเภท ทองคำ จำนวนมากเพื่อใช้ในการผลิตตัวเรือน และสายนาฬิกา ผมเลยอยากขอพูดถึงตัวอาคาร และระบบจัดการในแง่ของตัวเลขที่น่าสนใจในอาคารแห่งนี้ก่อนนะครับ
  • อาคารมีชั้นเหนือดินจำนวน 5 ชั้น และยังมีชั้นใต้ดินทั้งหมดอีก 5 ชั้น
  • รวบรวมวัสดุประเภทต่างๆ ประมาณ 500,000 ชนิด โดยมีช่องจัดเก็บมากกว่า 60,000 ช่อง
  • โดยช่องจัดเก็บดังกล่าวจะถูกแบ่งแยกไว้เป็น 2 ส่วน อย่างละเท่าๆ กัน เพื่อหากเกิดเหตุฉุกเฉินในส่วนหนึ่ง ก็ยังมีอีกส่วนสามารถทำงานต่อเนื่องได้โดยไม่สะดุด (redundancy)
  • พื้นที่โดยรวมของชั้นใต้ดินทั้งหมดเทียบได้กับ สระว่ายน้ำมาตราฐานโอลิมปิกจำนวน 10 สระ
  • และระบบจัดเก็บ และระบบปฏิบัติการทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และแขนกล 100% ไม่ใช่มนุษย์ในการจัดการ
  • น่าทึ่งมั๊ยละครับ กับความอลังการในชั้นใต้ดิน กลับขึ้นมาเหนือดิน อันเป็นสถานที่ทำงานของเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุ ก็อลังการไม่แพ้กัน เพราะทาง Rolex เลือกที่จะติดตั้ง เตาหลอม และโรงหล่อ โลหะทองดำ ทั้ง 3 ประเภท Yellow Gold, White Gold, และ Everose Gold เป็นของตนเอง เพื่อที่จะสามารถควบคุมงานผลิตตัวเรือน และสายนาฬิกา จนกระทั่งชิ้นส่วน บางตัวที่ใช้ในกลไกขับเคลื่อน ตั้งแต่ต้นจนจบ 100%
  • นอกเหนือจากโรงหล่อทองคำแล้ว ก็ยังมีเครื่องจักรที่ออกแบบโดยเฉพาะเพื่อให้ทาง Rolex ใช้ในการ ตัด ปั๊ม โลหะ Oystersteel อันเป็นโลหะผสม (Alloy) สูตรเฉพาะที่ทาง Rolex คิดค้นขึ้นโดยมีคุณสมบัติในการทนต่อกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ ออกมาเป็น ตัวเรือน และชิ้นส่วนของสายนาฬิกาต่อไป
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • หลังจากที่ได้ชิ้นส่วนดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ขั้นตอนสำคัญที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ งานขัดแต่ง โดยงานขัดเงาแบบ mirror effect จะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการ ที่ผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝนสายตามาอย่างยาวนาน เพื่อให้ได้ความเงางาม และแสงสะท้อนที่สมบูรณ์ที่สุด รวมไปถึงการตรวจสอบส่วนเวาส่วนโค้งทั้งหมดของตัวเรือน เพื่อเป็นการการันตีว่าผู้ใช้งาน สามารถใส่นาฬิกาได้อย่างสบายข้อมือมากที่สุด โดยทั้งหมดนี้ ยังรวมไปถึงการขัดแต่งชิ้นส่วนในกลไกขับเคลื่อนนาฬิกาอีกด้วย
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • ARTISANS OF MOVEMENT: ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะกลไกแห่งเวลา ณ Bienne (อ่านเสียงว่า เบียน)
  • Rolex ตั้งใจให้ที่ทำการแห่งนี้มีไว้สำหรับงานในส่วนของการประกอบกลไกขับเคลื่อนนาฬิกาทั้งหมด โดยห้องทำงานได้ถูกแบบให้รับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด และอากาศในห้องจะผ่านเครื่องกรองอากาศ และจะถูกมอนิเตอร์ตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีฝุ่น หรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ หลุดเข้าไปได้
  • งานประกอบชิ้นส่วนทั้งหมด ยังเป็นการประกอบด้วยมือของช่าง โดยมีการตรวจสอบทั้งทางสายตา และด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิค ว่ามีชิ้นส่วนใดที่ประกอบขึ้นมาไม่ได้ตามมาตราฐานที่ควรจะเป็น
  • เป็นที่ทราบกันดีว่า Rolex ผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด “In-house” แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า Rolex ได้พัฒนาและคิดค้นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญกับกลไกนาฬิกา เพื่อใช้กับนาฬิกา Rolex โดยเฉพาะ เช่น
    • Perpetual Rotor
    • Chronergy Escapement
    • Paraflex shock absorber
    • Parachrom & Syloxi hairsprings (มีเพียงผู้ผลิตนาฬิกาไม่กี่แบรนด์ในโลกเท่านั้น ที่มีศักยภาพในการผลิต hairspring ได้เอง)
    • Microstella Nuts
    • แม้แต่ น้ำมันหล่อลื่นสำหรับกลไก Rolex ยังคิดค้นสูตรเพื่อใช้สำหรับ Rolex โดยเฉพาะ
  • หลังจากที่ประกอบกลไกเสร็จสมบูรณ์ กลไกดังกล่าวจะถูกส่งไปที่ศูนย์ COSC (Contrôle Officiel Suisse des Chronomètres) หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษคือ Swiss Official Chronometer Testing Institute ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 15 วัน โดยกลไกที่ผ่านการทดสอบนี้ จะมีความคลาดเคลื่อนที่ -4/+6 วินาที ต่อวัน
  • เครื่องกลไกทั้งหมดที่ผ่าน COSC จะถูกนำกลับมาที่สำนักงานที่ Biene อีกครั้งเพื่อทำการตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนจะถูกส่งต่อไปที่ สำนักงานที่ Acacias อีกครั้งเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนประกอบเครื่องเข้ากับตัวเรือน
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • ALCHEMISTS OF BEAUTY: นักปรุงแต่งความงาม แห่งเมือง Chêne-Bourg (ออกเสียงว่า เชน-เบิร์ก)
    • ตอนนี้ทุกคนทราบกันแล้วนะครับว่า ตัวเรือนถูกสร้างขึ้นที่ Plan-les-Ouates หัวใจการขับเคลื่อนเริ่มต้นที่ Bienne และอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญของนาฬิกา ซึ่งก็คือส่วนของหน้าปัด ซึ่งถือว่าเป็นหน้าตาของนาฬิกาเกิดขึ้นที่นี้ เมือง Chêne-Bourg
    • ที่ทำการแห่งนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาคารที่เล็กที่สุด ในทั้งหมด 4 แห่ง แต่ก็ยังใช้เทคโนโลยีแขนกล และสายพาน สำหรับจัดส่งชิ้นส่วนต่างๆ (รวมไปถึงอัญมณีต่างๆ) ให้กับช่างประกอบชิ้นส่วนบนหน้าปัดนาฬิกา
  • ส่วนประกอบต่างๆ ที่เราเห็นกันคุ้นตาบนหน้าปัดนาฬิกา Rolex เกิดขึ้นใน workshop แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์คำว่า “Rolex”, “Oyster Perpetual Officially Certified” หรือ “Superlative Chronometer” และการวางชิ้นส่วน Logo มงกุฎห้าแฉก และหลักชั่วโมง ยังเป็นการวางด้วยมือช่างทั้งหมด
  • ในส่วนของการเล่นลวดลาย การขัดแต่งบนหน้าปัด จะใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อความเที่ยงตรงระดับไมครอน
  • ทุกคนคงพอจะทราบกันดีว่า Rolex มีการใช้วัสดุหลากหลายมากๆ ที่ใช้ในการตกแต่งหน้าปัด เช่น ทองคำ หรือจำพวกวัสดุจากธรรมชาติ เช่น หินสวยงาม หินอุกกาบาต และเปลือกหอยมุก และยังรวมไปถึงอัญมณีต่างๆ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน มรกต ฯลฯ
  • มาถึงจุดนี้ จะไม่พูดถึงการคัดสรรอัญมณีเพื่อนำมาประดับบนนาฬิกา Rolex คงไม่ได้ ทุกคนทราบหรือไม่ว่า บนนาฬิกา Daytona ที่เป็นหน้าปัด Rainbow นั้นใช้ไพลิน 36 ชิ้น ในเฉดสีที่เลือกเฉพาะเจาะจงโดยนักอัญมณีศาสตร์ จากทาง Rolex หลังจากนั้นถึงถูกนำมาจัดเรียงด้วยมือชิ้นต่อชิ้น ด้วยเครื่องมือในการเจียระไน ปรับแต่งเพื่อให้ได้การไล่เฉดสีรุ้งที่สวยงามตามที่เห็น
  • อัญมณีที่ถูกคัดเลือก และส่งมาที่นี่ จะต้องถูกตรวจสอบแหล่งที่มา และความบริสุทธิ์ ความแท้ของวัสดุ และผ่านตามมาตราฐานที่เข้มงวดของทาง Rolex เท่านั้น จึงสามารถส่งต่อขั้นตอนการติดตั้งบนหน้าปัด
  • ที่นี่ยังใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการ สร้างสรรค์สีสันใหม่บนหน้าปัดนาฬิกา โดยมีเหล่า นักเคมี และนักฟิสิกส์ ใช้เทคนิคในการผสมสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเคลือบเงา หรือสีจากโลหะต่างๆ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย Rolex ถือว่าเป็นผู้นำในการผลิตสร้างสรรค์หน้าปัดนาฬิกาแบบใหม่ๆ ในโลก
  • ในส่วนของชั้นใต้ดิน เป็นที่ทำงานในส่วนของการผลิตเซรามิค ที่ทุกคนคุ้นตากันบนขอบ Bezel สองสีของนาฬิกา GMT-Master II ตามที่ทุกคนทราบกันว่า เซรามิค มีคุณสมบัติที่สำคัญคือป้องกันรอยขีดข่วน และมีระดับความแข็งที่สูงมาก และ Rolex เป็นผู้คิดค้นการนำเซรามิค 2 สีมารวมกันอยู่ในวัสดุชิ้นเดียวกันได้ เป็นแบรนด์แรกของโลก
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • CUSTODIANS OF THE SEAL: ปัจฉิมบท กับผู้แลการลงผนึก Green Tag ณ Les Acacias II
    • ขั้นตอนในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ จะอยู่ใน ห้องทำงานที่จัดการ และควบคุมสภาพอากาศให้บริสุทธิ์ตลอดเวลา และยังควบคุมความชื้นให้อยู่ในช่วง 45-50% ตลอดเวลา ทุกคนในห้องจะต้องสวมชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต และใส่ถุงคลุมรองเท้า เพื่อป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้ามาในห้องทำงาน และที่แย่ที่สุดคือเข้าไปอยู่ในตัวเรือนนาฬิกา
  • การประกอบตัวเรือน การติดตั้งเข็มลงบนหน้าปัด และการใส่กลไกเข้าไปในตัวเรือน ทั้งหมดนี้ยังคงทำด้วยมือช่างนาฬิกาทั้งหมด และในแต่ละขั้นตอนยังคงต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งการทำงาน และความสวยงาม ผ่านตามมาตราฐานของทาง Rolex
  • หลังจากประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว นาฬิกาทุกเรือนจะถูกส่งต่อไปยัง ศูนย์ทดสอบ Superlative Control ซึ่งตั้งอยู่ชั้นใต้ดินของอาคารที่ Acacias แห่งนี้ โดยการทดสอบจะคลอบคลุมถึง ความเที่ยงตรงของกลไก การกันน้ำ ระบบการขึ้นลานอัตโนมัติ และการสะสมพลังงาน
  • การทดสอบทั้งหมดจะใช้เครื่องจักรอัตโนมัติทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าขั้นตอนทั้งหมดนั้น ถูกดำเนินการอย่างถูกต้องทั้งหมด
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • โดยการทดสอบความเที่ยงตรงของกลไก ระบบการขึ้นลานฯ และการสะสมพลังงาน จะทำผ่านเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อจำลองสภาวะการใส่ใช้งานของมนุษย์จริงๆ ตามสภาพต่าง โดยจะแบ่งเป็น position ที่ต่างกัน 7 รูปแบบ และแต่ละรูปแบบจะมีการทดสอบเคลื่อนไหวแบบหมุน เหวี่ยงอีกด้วย การทดสอบเช่นนี้ เพื่อให้แน่ใจว่านาฬิกายังสามารถเดินได้เที่ยงตรงไม่ว่าจะถูกสวมใส่ด้วยผู้ใช้งานทุกรูปแบบใดก็ตาม และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นได้คือ -2/+2 วินาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่สูงกว่า COSC อย่างมาก
  • ในส่วนของการทดสอบการกันน้ำ ทุกคนคงพอจะทราบกันดีว่า Rolex เป็นผู้นำในการคิดค้น ตัวเรือนกันน้ำ Oyster case และระบบขันเกลียวเม็ดมะยม Twinlock / Triplock และ Ringlock System โดยการทดสอบจะทำให้ ถังควบคุมแรงดันน้ำ (Hyperbaric Tank) โดยจะแบ่งการทดสอบ โดยเพิ่มแรงดันน้ำให้สูงกว่าค่าระดับที่ระบุในสเปค ตามนี้ครับ
    • นาฬิกากันน้ำระดับ 100 เมตร จะทดสอบที่แรงดันสูงกว่าที่ระบุ 10%
    • นาฬิกากันน้ำระดับ 300 เมตร 1,220 เมตร 3,900 เมตร และ 11,000 เมตร จะทดสอบที่แรงดันสูงกว่าที่ระบุ 25%
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • นาฬิกา Rolex ทุกเรือนจะต้องผ่านการทดสอบ Superlative Control เพื่อให้ได้รับตรา Superlative Chronometer บนหน้าปัดนาฬิกาทุกเรือน และหลังจากที่ตัวเรือนได้ถูกประกอบเข้ากับสายนาฬิกา จึงจะได้รับ ตราผนึกสีเขียว (Green Seal) และการรับประกันทั่วโลกเป็นเวลา 5 ปี
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • จากจุดเริ่มต้นที่ Les Acacias ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเรือน กลไก หน้าปัด เข็ม กระจกแซฟไฟร์ และสายนาฬิกา จากที่ต่างๆ จะกลับมารวมกันที่นี้อีกครั้งเพื่อประกอบเข้ารวมเป็นตัวนาฬิกาที่สมบูรณ์ อันถึงเป็นจุดสิ้นสุดของการเดินทาง ก่อนที่จะถูกนำส่งไปยังตัวแทนจำหน่ายต่อไป

เป็นอันจบเรื่องราวเกี่ยวกับวงจรการผลิตนาฬิกา Rolex ไปแล้วนะครับ หวังว่าสิ่งที่ผมเล่าให้เพื่อนๆ ทุกคนในบทความนี้ จะทำให้ทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับนาฬิกายี่ห้อ Rolex กันลึกซึ้งขึ้นไปอีกไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือเห็นต่าง ตรงไหน อย่างไร สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ ทางด้านล่างได้เลยนะครับ ผมยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และหากมีข้อมูลอะไรผิดพลาด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ และฝากสนับสนุนผลงานของผม มาให้กำลังใจกันโดยการกดติดตาม IG: @mickyjickyและ @my.six.point.five.inch.wrist กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

สะสมนาฬิกายังไงให้สนุก? ลองหามุมที่คุณชอบ

จากโพสที่แล้ว ที่ผมได้เล่าเกี่ยวกับคอลเล็คชั่นนาฬิกาปัจจุบันของผมให้ทุกคนทราบกัน และผมได้ทิ้งโน๊ตไว้ว่า จะเล่าถึงนาฬิกาที่ผมวางแผนจะมีไว้ในคอลเล็คชั่นในอนาคต ในโพสถัดไป

แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องนั้น ผมอยากจะแชร์ “วิธีคิด” ที่ผมคิดว่า มีความสำคัญมาก ที่ทำให้การสะสมนาฬิกานั้น สนุกขึ้น และบางทีมันอาจจะทำให้มีคุณค่าทางจิตใจมากขึ้นด้วย เพื่อนๆ ลองพิจารณาดูครับ

สิ่งนั้นคือ การหา “มุมที่คุณชอบ” หรือ “มุมที่ทำให้คุณหลงใหล” ในนาฬิกา

ผมเชื่อว่า พวกเราในช่วงแรกๆ ที่เริ่มสนใจนาฬิกา เกือบจะทุกคนจะมุ่งความสนใจไปที่ นาฬิกายอดฮิตทั้งหลาย เช่น Rolex Submariner, GMT-Master II, Daytona, Omega Speedmaster, Seamaster, Patek Philippe Nautilus, Audemars Piguet Royal Oak

Source: www.gearpatrol.com

ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะนาฬิกาที่พูดถึงนั้นสวยทุกเรือน และอยู่เต็มหน้าฟีด บนโลกโซเชียล และก็เพราะนาฬิกาเหล่านี้นั่นแหละ ที่ทำให้พวกเราสนใจนาฬิกามาตั้งแต่แรก

Patek Philippe’s Nautilus 5711/1A-010 & Audemars Piguet Royal Oak Jumbo. Source: USA.watch pro.com

ตัวผมก็ไม่ต่างอะไรกับเพื่อนๆ ทุกคน ที่สนใจและอยากจะได้นาฬิกาเหล่านั้นมาเก็บไว้ในคอลเล็คชั่น แต่ก็ต้องเจอปัญหาว่า ทำไมราคามันถึงได้สูงเหลือเกิน แถมราคาก็ยังเพิ่มขึ้นทุกปีอีก และที่สำคัญสุดเลยคือ มันไม่สามารถซื้อกับทางตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (Authorized Dealer; AD) ได้ ด้วยเหตุผลว่า ไม่มีของในสต็อค แล้วจะต้องลงชื่อไว้ใน Interesting List (ขอย้ำว่า ไม่ใช่ Waiting List) ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะถึงคิวเราเมื่อไหร่ แต่ถ้าเป็นเรือนที่คนต้องการมากๆ ยังจะต้องไปซื้อเรือนอื่นๆ (ที่เราไม่ได้อยากได้) มาก่อน เพื่อสะสมยอดซื้อจนถึงระดับที่จะมีสิทธิ์ ลงชื่อใน Waiting List

ด้วยสถานการณ์แบบที่พูดถึงข้างต้น มันเคยถึงกับทำให้ผมเลิกสนใจนาฬิกาไปพักใหญ่ เพราะผมรู้สึกว่า มันไม่ใช่งานอดิเรกที่ทำให้เรามีความสุข หรือสนุกไปกับมันอีกต่อไป

จนมาถึงวันนึงที่ผมหันมาเปิดใจ และกลับมาเริ่มสนใจนาฬิกาอีกครั้ง แต่คราวนี้ (อาจจะเนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น และบวกกับการที่เราหันมาสนใจการแต่งตัวแบบ classic menswear ด้วย) ผมได้ศึกษาลงลึกมากขึ้น เกี่ยวกับนาฬิกาประเภทต่างๆ และจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่น YouTube ทั้งใน และต่างประเทศ และ Website ที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาของต่างประเทศ (เอาไว้ผมจะเขียนบทความแยกต่างหาก เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลนาฬิกาที่ผมเข้าไปติดตามเป็นประจำ)

มันทำให้ผมค้นพบว่ามันยังมีนาฬิกาที่สวย น่าสนใจ มีความซับซ้อน น่าศึกษา อีกเยอะมาก นอกเหนือจากนาฬิกาตามกระแสนิยมหลัก เช่น

Vintage Watches. Source: www.HODINKEE.com
  • นาฬิกาวินเทจ คือ นาฬิกาที่ถูกผลิตในช่วงก่อนปี คศ 1980 (พศ 2523) หรือบางแหล่งข้อมูลใช้หลักเกณฑ์ว่าเป็นนาฬิกาที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี หรือ 50 ปี เป็นต้นไป
  • Independent Watch Markers คือ นาฬิกาที่ถูกออกแบบ ทั้งรูปแบบ หน้าตา กลไก และถูกผลิตในปริมาณที่น้อย ภายใต้แบรนด์ของตนเอง ไม่ขึ้นตรงกับกลุ่มธุรกิจใหญ่ เช่น Roger W. Smith, Laurent Ferrier, MB&F, Naoya Hida เป็นต้น
  • นาฬิกา Microbrand คือ บริษัทนาฬิกาที่ออกแบบรูปแบบ หน้าตา ในรูปแบบของตนเอง แต่ใช้กลไกสำเร็จพร้อมใช้ เช่น Miyota, Seiko, Sellita, เป็นต้น
Japanese Indepent Watch Maker; Naoya Hida. Source: monochrome-watches.com
นาฬิกา Micro Brand. Source: Horologisto.com

นาฬิกาเหล่านี้ เหมือนเปิดโลกใหม่ให้กับผม ทำให้ผมตื่นเต้น อยากที่จะเรียนรู้และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และที่สำคัญคือ ทำให้ผมสนุกกว่าแต่ก่อนเยอะเลย

แล้วจะหา “มุมที่คุณชอบ” หรือ “มุมที่ทำให้คุณหลงใหล” ในนาฬิกา ได้อย่างไร?

มันไม่มีสูตรสำเร็จที่ทุกคนจะสามารถเอาไปใช้ได้นะครับ เพราะการจะหาสิ่งที่คุณชอบ มันเป็นเรื่องส่วนตัวมากๆ และก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยเฉพาะตัวบุคคลด้วย เช่น อายุ การทำงาน ไลฟ์สไตล์ และพื้นฐานความเป็นมาของแต่ละคน จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ก็จะมีส่วนทำให้ความชอบของแต่ละคน เปลี่ยนไปตามกาลเวลาด้วยอีกต่างหาก

ดังนั้นผมจึงขอยกตัวอย่างกรณีของผม เผื่อว่าทุกคนจะสามารถลองเอาไปประยุกต์ใช้กับตัวเองดูนะครับ ผมขอเขียนแยกเป็นหัวข้อตามนี้ครับ

  • อย่างที่ทุกคนพอจะทราบกัน ผมมีความชื่นชอบการแต่งตัวสไตล์ “Classic Menswear” ผมชอบใส่เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว ผูกเนกไท ใส่แจ็กเก็ต ใส่สูท กับรองเท้าหนัง มากกว่าจะใส่ เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ
  • ผมชอบใส่นาฬิกาขนาดกลางๆ คือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 36-40มม (ซึ่งหลายๆ คนอาจจะมองค่อนไปทางขนาดเล็กด้วยซ้ำ) ผมมีความรู้สึกว่านาฬิกาที่มีขนาดตั้งแต่ 42มม เป็นต้นไปนั้นใหญ่เกินไปสำหรับข้อมือขนาดเส้นรอบวง 6.5 นิ้ว (หรือ 16.5 ซม) ของผม ที่บอกว่าใหญ่เกินไป คือ เวลามองจะรู้สึกว่ามันเต็มข้อมือจนไม่เหลือพื้นที่รอบๆ เรือนนาฬิกา และรู้สึกไม่สบายข้อมือ (บางครั้งถึงกับรู้สึกเจ็บข้อมือด้วย) เมื่อใส่ไปนานๆ ทั้งวัน
  • ผมจบการศึกษามาทางด้านสถาปัตยกรรม มีความชื่นชอบทางด้านงานออกแบบ และศิลปะ
  • ที่สำคัญสุดเลย คือ ผมชอบที่จะใส่นาฬิกาที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลักทั่วไป (ไม่อยากใส่นาฬิกาไปซ้ำกับใครเยอะ)

จากเหตุผลที่ผมเล่ามาข้างต้น คงไม่ต้องแปลกใจที่ผมมี Rolex Submariner ตัววินเทจ และ Reverso Classic อยู่ในคอลเล็คชั่นของผม เท่านี้ก็น่าจะพอเดากันได้ว่า มุมที่ผมชอบก็คือ “นาฬิกาวินเทจ” แต่เนื่องจากผมไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ และความรู้เพียงพอที่จะสามารถแยกแยะนาฬิกาวินเทจว่าเรือนไหนของจริง ของปลอมได้ และผมก็ไม่อยากจะห่วงเรื่องการบำรุงรักษานาฬิกาวินเทจ ดังนั้น นาฬิกาที่ผมชอบก็คือที่เรียกกันว่าเป็น “Vintage (Re-issue) Watch” ซึ่งก็คือการที่แบรนด์นาฬิกาต่างๆ หยิบเอานาฬิการุ่นคลาสสิกที่มีประวัติมายาวนาน เรื่องราวที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมสูงในสมัยก่อน เอามันปัดฝุ่น แล้วใส่เทคโนโลยี กลไก ปัจจุบัน และวัสดุที่ทันสมัยเข้าไป เพื่อนำมาจำหน่ายในโอกาสพิเศษต่างๆ หรือในบางแบรนด์ เช่น Longines, Brietling, Grand Seiko ถ้าเพื่อนๆ เข้าไปดูในเว็บไซด์ ก็จะมีนาฬิกาประเภทนี้อยู่ใน “Heritage Collection”

พอจะเริ่มมองหา “มุมที่คุณชอบ” กันได้รึยังครับ?

เพื่อให้มองเห็นภาพมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ครับ

  • เพื่อนๆ อาจจะมองไปที่ “ประเภทของนาฬิกา” ต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัววินเทจ หรือจะเป็นรุ่นปัจจุบัน ก็ได้ เช่น

นาฬิกาดำน้ำ (Diver Watch)

Diver Watches. Source: www.HODINKEE.com

นาฬิกาจับเวลา (Chronograph Watch)

นาฬิกาจับเวลา source: www.HODINKEE.com

นาฬิกาสำหรับใช้ทางการทหาร (Military/ Field Watch)

Source: www.HODINKEE.com
  • หรือเราอาจจะเจาะลึกลงไปใน “ประเภทย่อย” ของนาฬิกาประเภทนั้นๆ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง นาฬิกาจับเวลา ล่ะกันนะครับ เพราะนาฬิกาจับเวลานั้น ยังมีการแยกออกเป็นประเภทย่อยๆ อีก เช่น

นาฬิกาจับเวลาสำหรับนักบิน (Pilot Chronograph) – คือนาฬิกาที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับกองทัพอากาศ

Pilot Chronograph Brequet Type XX. Source:www.HODINKEE.com

นาฬิกาจับเวลาสำหรับนักแข่งรถ (Racing/Driver Chronograph) – คือนาฬิกาจับเวลาในการแข่งในกีฬามอเตอร์สปอร์ต

Heuer Carrera Chronograph 160th Anniversary. Source: www.HODINKEE.com

นาฬิกาจับเวลาสำหรับ Dress Watch – คือนาฬิกาที่ใช้กลไกชั้นสูง (high horology) ซึ่งจะประกอบไปด้วยฟังก์ชั่น ปฏิทินถาวร (Perpetual Calendar) ข้างขึ้นข้างแรม (Moon Phase) การจับเวลา (Chronograph) หรืออาจจะมีฟังก์ชั่นมากกว่านี้

High Complication Patek Philippe. Source: www.HODINKEE.com
  • อีกมุมนึง คือการมองเจาะจงไปที่ช่วงเวลาที่มีผลกับการออกแบบนาฬิกา เช่น ในยุคปีทศวรรษที่ 60 และ 70 นั้น กระแสของศิลปะ และวัฒนธรรม มีผลทำให้งานออกแบบนาฬิกามีความแตกต่างอย่างชัดเจน เช่น

นาฬิกา Patek Philippe ในช่วงยุคทศวรรษที่ 70

A Patek Beta 21. Source: www.HODINKEE.com

นาฬิกา Seiko Chronograph ในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70

Seiko 6138 vintage chronograph. Source: 60clicks.com

บทสรุป

ผมหวังว่าจากที่ผมเขียนมาทั้งหมดให้ทุกคนข้างต้น จะพอให้ไอเดียกับเพื่อนๆ ในการหา “มุมที่คุณชอบ” หรือ “มุมที่ทำให้คุณหลงใหล” ในการสะสมนาฬิกากันได้ไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ผมของฝากข้อคิดที่ผมก็จำไม่ได้ว่าผมไปฟัง หรือไปอ่านมาจากไหน แต่มันติดอยู่ในหัวผมมาตลอด ก็คือ “เราไม่สามารถครอบครองนาฬิกาทุกเรือนที่ผมชอบได้ แต่เราควรจะรักนาฬิกาทุกเรือนที่อยู่กับเรา”

หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยตรงไหน สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ด้านล่างได้เลยนะครับ ยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และฝากสนับสนุน ผลงานของผมโดยการกดติดตาม IG @my.six.point.five.inch.wrist และ @mickyjicky ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ ในโพสถัดไปครับ!!

How to build a Watch Collection? Finding your “Niche”

In my previous post, I already told my stories related to all my the watches in my current collection. I also left a note that I will talk about my ‘Wish List’ watches in the next post.

BUT before I jump into my future watch acquisition plan, I would like to share one of key ideas that, for me, it makes ‘Collecting Watches’ more enjoyable and perhaps more meaningful.

You have to find your “Niche”

I believe, at the beginning stage when we just got bitten by a ‘watch bug’ and entered into the ‘watch world’, most of us are aiming our eyes on those steel sport watches like the Submariner, GMT-Master II, Daytona, Speedmaster, Seamaster, Nautilus, Royal Oak, etc. That’s quite normal because they are beautiful watches that make us interested in watches at the first place and they are everywhere on the Social Media Feeds.

Famous Rolex Sport Watches – photo source www.gearpatrol.com

I was in that position before and I felt quite frustrated and intimidated from the price tag and how hard to get one of those watches. I even stopped thinking about the watches for quite sometime because I think it is not an enjoyable hobby anymore. How can I enjoy my dream watches when I cannot get even one of them?

Patek Philippe’s Nautilus 5711/1A-010 & Audemars Piguet steel on steel Royal Oak Jumbo – photo source USA.watch pro.com

Until one day when I started to open my mind to look at the watches again BUT this time I went even deeper into this rabbit hole. Then I found out that there are many more types of watch beside the Big name Steel Sport watches.

There are Vintage Watches, Independent Watch Makers, Micro Brands, etc. They took me to another side of the ‘Watch World’ where I feel so excited and I feel fascinating when I look at them. They make me want to search more and dig deeper and most importantly, it’s much more fun!!

Micro Brand Watches – photo source Horologisto.com

How to find your niche?

This is a bit tricky. There is no ultimate formula for everyone to use. It relates to individual factors i.e. age, occupation, lifestyle, personal background, etc. As you can see, it’s very personal and it’s very dynamic (that means your niche will change overtime).

Therefore I would like to use my case as an example and I hope that you guys can adapt to yours.

As I mentioned before, I have a passion on ‘Classic Menswear’. I am wearing shirt, trouser, tie, jacket, suit, and leather loafer more than T-shirt, Jean, and sneaker. I prefer ‘Medium Size Watch Case’ approx 36-40mm in diameter. I consider watch size from 42mm and above is too big for my wrist and uncomfortable to wear in a long term (my wrist size is 6.5 inch or 16.51cm in circumference). My educational background is in architecture, art, and design. Ultimately I always gravitate towards watches that not in the main stream.

All the above combined, no wonder why I have “Vintage Rolex Sub” and “Reverso Classic” in my collection. Yes, my Niche is a “Vintage Watch” BUT I am NOT expert enough to be able to authenticate them from the vintage watch sellers and I do NOT want to get hassled on the maintenance issues as well. So my Niche becomes “Vintage (Re-issue) Watch”; when the brands use the classic watch models in their archive and apply new technologies and materials in the modern day to release on their special occasions. Or we can find in “Heritage Collection” in many brands like Longines, Brietling, Grand Seiko, etc.

So…What is your niche?

I hope my case study can give you guys some ideas. And to you some ideas, your niche can be;

  • Specific Category of watch such as:
    • Diver watch
    • Chronograph watch
    • Military/Field watch, etc. It can be current model or vintage model. It depends on your preference.
  • In each category, we can go into specific Sub-category. For example, Chronograph watch, there are:
    • Pilot Chronograph: watches designed for military pilots
    • Racing Chronograph: watches designed for motor sports
    • Grand Complication Chronograph: high horology watches with many complications like perpetual calendar, moon phase, and chronograph functions
  • Specific Period of watch: There are specific design language from 60’s & 70’s period which make watches from that period very unique. For example:
    • 1970’s Patek Phillipe
    • 1960’s & 1970’s Seiko Chronograph

My Final Thought

There is a phase that I read from somewhere (I cannot recall) which very move me. It says “You cannot have all the watches that you love BUT you should love all the watches that you have”. It really sticks into my head and it got me thinking for quite sometime until I’ve found my niche.

Lastly, what do you guys think? Do you have your niche yet? Please feel free to share your thought below. Any opinion and suggestion are very welcome here. Please also consider to support my works by visiting & following my IG accounts @mickyjicky & @my.six.point.five.inch.wrist

Thank you & See you again on the next post!!

คอลเล็คชั่นนาฬิกาของผมในปี พ.ศ.2565

ใกล้จะสิ้นปี 2565 แล้วนะครับ ผมเลยอยากจะใช้โอกาสนี้อัพเดทนาฬิกาที่อยู่ในคอลเล็คชั่นของผมในปีนี้และ นาฬิกาที่ผมวางแผนว่าจะซื้อไว้ในครอบครองในอนาคต พร้อมทั้งเหตุผลว่าทำไมผมถึงอยากได้นาฬิกาเหล่านั้นนะครับ

โดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบที่จะฟังเรื่องราว คอลเล็คชั่นนาฬิกาของบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะในช่องยูทูปต่างประเทศ จะมีทำ State of The Collection หรือ SOTC ไว้เยอะมาก เพราะคอลเล็คชั่นนาฬิกาของแต่ละคนนั้น ส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (ปล่อยของที่มีอยู่ แล้วซื้อเรือนใหม่เข้ามา) ซึ่งทุกๆ คนก็จะมีเรื่องราว เหตุผต่างๆ ในการตัดสินใจ และนั่นคือสิ่งที่ผมสนใจ และรู้สึกสนุกไปกับเรื่องราวเหล่านั้น แถมยังมีเกร็ดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับนาฬิกา ที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน

ผมหวังว่า สิ่งที่ผมเขียนในโพสนี้ จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยให้กับเพื่อนๆ ที่ชอบและสนใจในนาฬิกา ในแบบเดียวกันครับ

การแบ่งหมวดหมู่ในคอลเล็คชั่นนาฬิกาของผม (เพื่อความเข้าใจในการอ่าน)

เริ่มต้นจาก “คอลเล็คชั่นปัจจุบัน” คือ ผมจะลิสต์นาฬิกาทุกเรือน ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งระบุ ปีที่ผมได้ซื้อ หรือได้รับมา โดยผมจะแสดงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับนาฬิกาเรือนนั้น และขอเล่าเรื่องราวเบื้องหลังให้เพื่อนๆ ได้รู้ด้วย

หลังจากนั้นจะเป็น “นาฬิกาที่อยากได้” ก็จะเป็น นาฬิกาที่ผมวางแผนว่าอยากจะซื้อในอนาคต พร้อมทั้งความคิดเบื้องหลังในแต่เรือน โดยปกติแล้ว ผมจะตั้งกฎให้กับตัวเอง หรือจะเรียกว่าเป็น “เงื่อนไขส่วนตัว” ก็ได้ เพื่อใช้ในการตีกรอบความคิด ในการสร้างคอลเล็คชั่นนาฬิกาของผมนะครับ

เงื่อนไขส่วนตัวของผม มีอะไรบ้าง? (เผื่อว่าเพื่อนๆ จะเอาไปลองปรับใช้กันได้ ไม่ว่ากันครับ)

ข้อที่ 1 ผมจะมีนาฬิกาได้แค่ยี่ห้อละ 1 เรือนเท่านั้น

ข้อที่ 2 ผมจะมีนาฬิกาได้แค่ 1 เรือน ในแต่ละประเภทเท่านั้น เช่น นาฬิกาดำน้ำ 1 เรือน, นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน, นาฬิกา GMT, ฯลฯ

ข้อที่ 3 ผมสามารถมีนาฬิกาประเภทต่างๆ ได้ แต่จะซื้อได้ ต้องมีวาระพิเศษในชีวิต หรือจะต้องประสบความสำเร็จในงานที่ทำเท่านั้น

ข้อที่ 4 ในการซื้อนาฬิกาแต่ละเรือนจะต้องไม่ทำให้มีปัญหาทางด้านการเงิน

ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลยครับ!!

คอลเล็คชั่นปัจจุบัน

นาฬิกา Rolex Submariner Reference 1680

  • ประเภท: นาฬิกาวินเทจ / มรดกตกทอดในครอบครัว
  • ปีที่เข้ามาอยู่ในคอลเล็คชั่น: พ.ศ.2537 / ค.ศ.1994
  • รายละเอียดนาฬิกา:
    • ปีที่ผลิต: ค.ศ.1967-1980 (โดยประมาณ)
    • วัสดุตัวเรือน และคริสตัล: ตัวเรือนเป็นสแตนเลสสตีล หน้าปัดดำ / อะคริลิคพร้อมเลนส์ขยายหน้าต่างวันที่ และสาย Oyster สแตนเลสสตีล
    • ขอบตัวเรือน: วัสดุสแตนเลสสตีลสีดำ หมุนได้ 2 ทิศทาง พร้อมสเกลจับเวลา 60 นาที
    • ขนาดตัวเรือน: เส้นผ่าศูนย์กลาง 40มม / ความกว้างหูสาย 20มม
    • กลไกนาฬิกา: คาลิเบอร์ 1575 (บนพื้นฐานคาลิเบอร์ 1570) กลไกขึ้นลานอัตโนมัติ
    • การกันน้ำ: ความลึก 200 เมตร / 660 ฟุต
    • เกร็ดความรู้: Ref.1680 เป็นรุ่นแรกที่ทาง Rolex เริ่มใส่ฟังก์ชั่นหน้าต่างแสดงวันที่ให้กับ คอลเล็คชั่น Submariner แสดงให้เห็นถึงความเป็นที่นิยมที่เพิ่มขึ้นของ Submariner เพราะหน้าต่างแสดงวันที่ มิได้เป็นฟังก์ชั่นที่จำเป็นสำหรับนาฬิกาดำน้ำ แต่เป็นความต้องการของกลุ่มลูกค้าทั่วไปมากขึ้น
  • เรื่องราว:

ผมได้รับนาฬิกาเรือนนี้เป็นของขวัญ หรือจะเรียกว่าเป็นรางวัลก็ได้ จากคุณลุงที่ผมเคารพรักมาก ในโอกาสที่ผมสอบเอ็นทรานซ์ติดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมื่อ 18 ปีที่แล้ว (ในยุคของผมการสอบเอ็นทรานซ์ เป็นเหมือนจุดหลักสำคัญในชีวิตของนักเรียนทุกคน) เรื่องมันเกิดมาจากว่า ผมได้เห็นคุณลุงของผมใส่นาฬิกา Rolex Submariner เป็นครั้งแรก แล้วผมก็รู้สึกว่าทำไมนาฬิกาเรือนนี้มันหล่อ มันเท่ห์มากมายขนาดนี้ จนผมถามข้อมูลต่างๆ มากมาย จนคุณลุงของผมคงรับรู้ถึงความชอบในนาฬิกาเรือนนี้ของผมได้ จนท่านได้เอ่ยปากบอกกับผมว่า “ถ้าสอบเอ็นทรานซ์ติดคณะสถาปัตย์ฯ ได้ ลุงจะซื้อนาฬิกาเรือนนี้ให้”

แล้วผมก็ได้ครอบครอง Submarier มาจนได้ ตอนที่ผมได้รับมาจากคุณลุง นาฬิกาเป็นมือสองมาตัวเปล่า(ไม่มีกล่องใบ) เท่าที่ผมจำได้ ราคาตอนนั้นยังอยู่ในหลักหมื่น ผมใส่นาฬิกาเรือนนี้แทบจะทุกวัน ตลอดช่วงเวลาที่ผมอยู่มหาวิทยาลัย จนจบปริญญาตรี จนไปถึงช่วงเวลาที่ผมไปศึกษาต่อปริญญาโท ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อไปถึงช่วงชีวิตการทำงานช่วงแรกๆ ที่ผมได้มีโอกาสไปต่างประเทศเยอะมาก เช่นเยอรมัน อิตาลี จีน แคนาดา ฯลฯ เจ้า Submariner เรือนนี้ไปกับผมทุกที่ (จะเห็นได้จากสภาพตัวเรือน ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้งานแบบจริงจัง ไม่ได้ถนุถนอมแต่อย่างใด) 

ทุกวันนี้ ถึงผมจะไม่ได้ใส่นาฬิกาเรือนนี้บ่อยเหมือนเมื่อก่อน (ใส่เฉพาะช่วง เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดสุดสัปดาห์) แต่ไม่น่าเชื่อว่านาฬิกายังคงเดินปกติ เที่ยงตรงในระดับที่มันควรจะเป็น ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ผมยอมรับเลยครับว่า Rolex ผลิตนาฬิกาที่ อด ถึก ทน แต่ก็ยังคงความสวย และความมีเอกลักษณ์ที่เป็น Iconic Watch อย่างที่ทุกคนรู้กัน

นาฬิกา Swatch Quartz Chronograph

  • ประเภท: นาฬิกาใส่เล่น / มรดกตกทอดในครอบครัว
  • ปีที่เข้ามาอยู่ในคอลเล็คชั่น: จำไม่ได้จริงๆ ครับ
  • รายละเอียดนาฬิกา:
    • วัสดุตัวเรือนและสาย: สแตนเลสสตีล 
    • ขนาดตัวเรือน: ความกว้างตัวเรือน 43มม / หนา 12.67มม / ความยาวตัวเรือน 49มม
    • กลไกนาฬิกาควอทซ์
    • การกันน้ำ: 30ม
    • เกร็ดความรู้: เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า เพื่อนๆ สามารถนำนาฬิกา Swatch มาเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ที่ช้อป โดยไม่เสร็จค่าใช้จ่ายใดๆ ตลอดอายุการใช้งาน
  • เรื่องราว:

เท่าที่จำได้ผมเห็นนาฬิกาเรือนนี้ครั้งแรกบนข้อมือคุณพ่อของผมนานมากๆ แล้ว ผมยังจำความรู้สึกได้ว่ามันดูเท่ห์อย่างบอกไม่ถูก ณ ตอนนั้นยังเป็นสายสแตนเลสสตีล แต่ผมก็จำไม่ได้นะครับว่า ผมได้บอกคุณพ่อรึป่าวว่าผมอยากได้นาฬิกาเรือนนี้ แต่ผมกลับมาเจอนาฬิกาเรือนนี้อีกครั้งในลิ้นชักโต๊ะทำงานของผม เมื่อตอนที่ผมกลับไปเก็บของในห้องของผมที่บ้านของคุณพ่อ คุณแม่ เมื่อครั้งที่ท่านขายบ้านหลังนั้น เพื่อย้ายไปอยู่บ้านใหม่กัน

แต่ในครั้งที่ผมเห็นเจ้า Swatch เรือนนี้อีกครั้ง หลังจากที่เริ่มมีความรู้เกี่ยวกับนาฬิกามากขึ้น มันทำให้ผมนึกถึงเจ้า “Speedy” Omega Speedmaster Professional (ณ ตอนนั้นเรายังไม่มี MoonSwatch ให้รู้จักกันนะครับ) ดังนั้นผมเลยตัดสินใจเก็บนาฬิกาเรือนนี้ไว้ เพราะผมนึกอยู่ในใจว่า ผมน่าจะทำอะไรสนุกๆ กับเจ้า Swatch เรือนนี้ได้แน่ๆ แล้วเมื่อต้นปี พ.ศ.2565 นี้เอง ผมได้ไปที่ช้อปของ Swatch เพื่อนำนาฬิกาไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วก็โชคดีครับที่นาฬิกามันยังเดินได้ปกติ แต่ระบบจับเวลามันทำงานไม่สมบูรณ์ (และอีกไม่นาน เข็มจับเวลาก็ไม่ทำงานแบบถาวร) เมื่อนาฬิกายังเดินได้ ผมเลยตัดสินใจเปลี่ยนสายจากเดิมที่เป็นสแตนเลสสตีล เป็นสายหนังสีน้ำตาล จับคู่กับหน้าปัดสีดำของนาฬิกาได้อย่างดี (น่าเสียดายที่ นาฬิกา Swatch ไม่สามารถใช้สายทั่วไปในท้องตลาดได้นะครับ)

นานๆ ที ผมถึงจะใส่เจ้า Swatch เรือนนี้ แต่ทุกครั้งที่ผมได้ใส่ ผมจะนึกถึงภาพความทรงจำตอนที่ผมยังเป็นเด็ก และนึกถึงเรื่องราวระหว่างคุณพ่อกับผม มันเป็นความรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูกนะครับ

นาฬิกา Apple Watch Series 7 ขนาด 45มม วัสดุ Stainless Steel สีเงิน

  • ประเภท: สมาร์ทว็อช
  • ปีที่เข้ามาอยู่ในคอลเล็คชั่น: ต้นปี พ.ศ.2565 / ค.ศ.2022
  • รายละเอียดนาฬิกา:
    • วัสดุตัวเรือนและสาย: ตัวเรือนสแตนเลสสตีลขัดเงา และสายสแตนเลสสตีลถัก (Milanese Style Bracelet) 
    • โปรเซสเซอร์: S7 64-bit dual core / W3 Apple wireless chip / U1 Chip (Ultra Widebrand)
    • ขนาดตัวเรือน: สูง 45มม กว้าง 38มม หนา 10.7มม
    • ฟังก์ชั่น:
      • GPS + Cellular with Wi-Fi & Bluetooth connectivity
      • Always on display
      • Blood Oxygen Sensor
      • Electrical Heart Sensor
      • Fall Detection
      • Sleeping Sensor
      • และอื่นๆ อีกมากมาย 
    • การกันน้ำ: 50ม (ใส่ว่ายน้ำ และเล่นกีฬาทางน้ำได้)
    • เกร็ดความรู้: เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า Apple Watch รุ่นแรก มีชื่อเรียกว่า Apple Watch Series 0 (Zero)
  • เรื่องราว:

คนในครอบครัว และเพื่อนๆ ของผมรู้กันเป็นอย่างดีว่า ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ Apple ผมใช้ผลิตภัณฑ์ของ Apple ชิ้นแรกคือ iMac G3 (รุ่นที่เป็นจอทีวี แล้วก็มีสีให้เลือก 5 สี น้ำเงิน, แดง, เขียว, เหลือง, และสีม่วง) และแน่นอนครับผมใส่ Apple Watch ตั้งแต่รุ่นแรกที่ออกมา แล้วก็อัพเดทรุ่นใหม่มาเรื่อยๆ

สำหรับการอัพเดทครั้งนี้นั้น ผมเลือกรุ่นที่เป็นตัวเรือนสแตนเลสสตีล ถึงแม้ว่าจะราคาสูงกว่ารุ่นที่เป็นตัวเรือนอลูมิเนียมพอสมควร แต่ฟังก์ชั่นแทบจะไม่ต่างกัน เหตุผลหลักๆ ก็คือความบ้านาฬิกาของผม ที่ผมอยากจะใส่ สมาร์ทว็อชที่มีหน้าตาเหมือนกับนาฬิกากลไกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (ไม่อยากให้เหมือนใส่ Gadget)

โดยปกติแล้ว ผมจะใส่เจ้า Apple Watch เวลาที่ผมออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ตีเทนนิส ว่ายน้ำ และผมก็จะใส่เข้านอนแทบจะทุกคืน ต้องยอมรับครับว่า ผมเป็นคนที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ และก็ยังมีความอยากลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ตลอดเวลา (โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ของ Apple) ดังนั้นเจ้า Apple Watch ต้องอยู่ในคอลเล็คชั่นของผมอย่างไม่ต้องสงสัย

นาฬิกา Seiko 5 Reference SNXS73K1 (หรือที่ใครๆ เรียกกันว่า Seiko ‘Date Just’)

  • ประเภท: นาฬิกาใส่สบายๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์
  • ปีที่เข้ามาอยู่ในคอลเล็คชั่น: พ.ศ.2564 / ค.ศ.2021
  • รายละเอียดนาฬิกา:
    • วัสดุตัวเรือนและคริสตัล: สแตนเลสสตีล ส่วนกระจกเป็น Hardlex Crystal
    • หน้าปัด: เป็นหน้าปัดสีเงิน Sun Burst และหลักชั่วโมงเป็นแบบ Applied Markers พร้อมพรายน้ำ
    • ขนาดตัวเรือน: เส้นผ่าศูนย์กลาง 37มม / หนา 12มม / หูสายกว้าง 19มม
    • กลไกนาฬิกาSeiko Caliber 7S26 ระบบขึ้นลานอัตโนมัติ สำรองพลังงานได้
    • การกันน้ำ: 30ม
    • เกร็ดความรู้: เลข ‘5’ ที่อยู่ในชื่อ Seiko 5 มีที่มาจากคุณสมบัติ 5 อย่างที่นาฬิกา Seiko 5 ทุกเรือนจะต้องมีคือ
      • กลไกขึ้นลานอัตโนมัติ
      • หน้าต่างแสดงวัน และวันที่
      • การกันน้ำ
      • เม็คมะยมแบบซ่อนที่ 4 นาฬิกา
      • ตัวเรือนออกแบบให้มีความทนทาน
  • เรื่องราว:

ผมจำได้แม่นเลยว่า ผมเห็นนาฬิกาเรือนนี้ครั้งแรกจากช่อง ‘Pond Review’ และช่อง ‘Wimol Tapae’ ที่คุณปอน์ด และคุณบอส ใจตรงกันมารีวิวนาฬิกาเรือนนี้ในเวลาใกล้ๆ กัน หลังจากที่ผมดูรีวิว ก็คือผมโดนป้ายยาเต็มๆ ไม่เพียงแต่ช่องยูทูปคนไทยนะครับ เหล่า YouTuber ต่างประเทศ พร้อมใจกันสดุดี เจ้า Seiko เรือนนี้ว่าเป็น หนึ่งในนาฬิกาที่คุ้มค่าที่สุดในงบไม่เกิน 100 ดอลล่าห์ (ประมาณ 3 กว่าบาท)

ดังนั้นเมื่อปีที่แล้ว ผมจึงตัดสินใจสั่งนาฬิกาเรือนนี้ โดยที่ยังไม่เคยเห็นเรือนจริงด้วยซ้ำ (เป็นช่วงโควิดกำลังระบาดอย่างหนัก) ผมบอกเพื่อนๆ ทุกคนได้เต็มปากเลยครับว่า นาฬิกาเรือนนี้คุ้มค่าทุกบาท ทุกสตางค์ ที่จ่ายไป จริงๆ ผมได้รับคำชม จากคนรอบๆ ตัวเยอะมาก และคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเจ้า Seiko เรือนนี้ราคาสูงกว่าสามพันบาทไปไกลมาก

ผมชอบในความใส่สบายของนาฬิกาเรือนนี้ แถมยังสามารถอ่านเวลาได้อย่างรวดเร็ว (พรายน้ำก็ชัดแจ๋วเต็มตา แต่ก็จะไม่สว่าง และนานเท่ากับพวกนาฬิกาดำน้ำ) ผมไม่ค่อยซีเรียสกับความเที่ยงตรงของเจ้า Seiko เรือนนี้ (-20/+40 วินาที ต่อวัน) เนื่องด้วยราคาของมัน และส่วนใหญ่ผมจะใส่เจ้า Seiko เฉพาะช่วงสุดสัปดาห์ หรือไม่ก็ไปเที่ยวต่างจังหวัดใกล้ๆ

ข้อด้อยอีกหนึ่งจุดของนาฬิกาเรือนนี้นอกจากความเที่ยงตรง ก็คือสายเหล็กพับที่มากับตัวเรือน คุณภาพก็ตามราคา และเวลาใส่ ขยับข้อมือจะมีเสียงดังตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งแรกที่ผมทำเมื่อได้รับนาฬิกาเรือนนี้มาคือ ผมจับเปลี่ยนเป็นสายหนังสไตล์วินเทจ (น่าเสียดายที่หูสายกว้าง 19มม) ซึ่งผมว่ามันดีกว่าสายเดิมมากๆ เจ้า Seiko 5 เรือนนี้น่าจะยังอยู่กับผมไปอีกนาน

นาฬิกา Jaeger-LeCoultre Reverso Classic Medium Thin Reference JLQ2548440

  • ประเภท: นาฬิกาเดส สำหรับใส่ประจำวัน
  • ปีที่เข้ามาอยู่ในคอลเล็คชั่น: พ.ศ.2565 / ค.ศ.2022 
  • รายละเอียดนาฬิกา:
    • วัสดุตัวเรือนและคริสตัล: สแตนเลสสตีล หร้อมกระจกแซฟไฟร์คริสตัล
    • หน้าปัด: Silvered grey, Vertical satin-brushed and guilloche, Black transferred numerals
    • ขนาดตัวเรือน: สูง 40.1มม กว้าง 24.4มม
    • กลไกนาฬิกากลไกไขลาน Caliber 822A/2, Components; 108 ชิ้น ความถี่ 21600 Jewel 19 ชิ้น สำรองพลังงาน 42 ชั่วโมง
    • ฟังก์ชั่น: มีเฉพาะเข็มชั่วโมง และเข็มนาที
    • การกันน้ำ: 30ม
    • เกร็ดความรู้: นาฬิกา Reverso เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1931 (พ.ศ.2474) ถูกออกแบบมาเพื่อให้นักกีฬาโปโลใส่เวลาแข่งขัน เพราะนาฬิกาสามารถพลิกเอาด้านกระจกเข้าไปด้านใน เพื่อป้องกันกระจกนาฬิกาแตกเสียหาย นับเป็นนาฬิกา Sport Watch ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากศิลปะยุค Art Deco Style ที่มีหรูหรา สง่างาม เป็นเอกลักษณ์ตลอดกาล
  • เรื่องราว:

นาฬิกาเรือนนี้นับเป็นเรือนล่าสุดที่เข้ามาอยู่ในคอลเล็คชั่นของผม เมื่อประมาณเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2565 นี่เอง นับเป็นนาฬิกาเรือนพิเศษสำหรับผม ตามที่ผมได้เขียนโพสแยกต่างหากเกี่ยวกับเจ้า Reverso เรือนนี้โดยเฉพาะ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ My Dream (Comes True) Watch

ผมได้ทำการสั่งนาฬิกา Reverso กับทาง Jaeger-Lecoultre บูทีค ที่ สยามพารากอน เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2565 ถึงแม้ว่าผมจะต้องรอเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน (1 เดือนสำหรับการสั่งผลิตจากสวิสเซอร์แลนด์ และอีก 1 เดือนสำหรับงานแกะสลักด้านหลังตัวเรือน) แต่มันเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจ ที่ผมได้รับจากพนักงานขายทุกท่าน

ในตอนที่สั่งนาฬิกานั้น ผมได้เลือกสายนาฬิกาเป็นหนังจรเข้สีน้ำตาลเข้ม แต่เนื่องจากผมตั้งใจที่จะใส่เจ้า Reverso นี้ไปทำงานเป็นประจำ ผมจึงตัดสินใจสั่งสายนาฬิกาเพิ่มอีก 1 เส้น เป็นหนังนกกระจอกเทศสีน้ำตาลอ่อน เพราะจะสามารถแมทช์เข้ากับการแต่งตัวแบบ Classic Menswear ของผมได้มากกว่า (หนังจรเข้ มีความเงา แถมยังสีเข้ม เหมาะกับงานทางการ งานกลางคืนมากกว่า) ผมสามารถเปลี่ยนสายสลับไปมาได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ เพราะนาฬิกาและสายมาพร้อมกับระบบ Quick Release

การเดินทาง และเรื่องราวระหว่างผมกับเจ้า Reverso เรือนนี้เพิ่งจะเริ่มต้น และผมตั้งใจว่านาฬิกาเรือนนี้จะอยู่กับผมตลอดไปจนกว่า จะถึงเวลาที่ผมจะส่งต่อให้กับลูกสาวของผม

นาฬิกาที่ผมตั้งใจให้มาอยู่ในคอลเล็คชั่นในอนาคต

เพื่อความกระชับของโพสนี้ ผมขอพูดถึงนาฬิกาที่ผมวางแผนไว้ว่าจะซื้อเข้ามาอยู่ในคอลเล็คชั่นในอนาคต ในโพสถัดไป นะครับ

บทสรุป

ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ คิดยังไงเกี่ยวกับนาฬิกาในคอลเล็คชั่นของผม ถ้าหากเพื่อนๆ มีความเห็นเพิ่มเติม หรืออยากจะแนะนำ ติชม จะเห็นด้วย หรือเห็นต่าง ผมยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นนะครับ สามารถเขียนลงมาในช่อง comment ข้างล่างได้เลยครับ และฝากสนับสนุนผลงานของผมโดยการ กดติดตาม IG @my.six.point.five.inch.wrist และ @mickyjicky ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ ในโพสถัดไปครับ !!

State of The Collection – My watch collection journey in 2022

The end of year 2022 is just around the corner, I would like to update all of the watches in my collection and what I plan to purchase in the future including the reasons behind it.

For me, I quite enjoy checking out others watch collection because I found that the stories behind each acquisition are very amusing and yet very knowledgeable and inspiring.

I hope that my post would be the same to any watch enthusiasts out there as well.

How I categorized my watch collection?

Start with my ‘Current Collection’ – all the watches that I currently own with the year that I acquired them and some hard facts with my story for each of them.

There is also the ‘Wish List’ – watches that I plan to purchase in the future and the reasons behind them. Normally, I try to set criteria as ‘My Rules’ to help me to frame my thought on how should I build up my watch collection.

What are ‘My Rules’?

Rule#1 I cannot own more than 1 watch of each brand.

Rule#2 I cannot own more than 1 watch of each category.

Rule#3 Build up watch collection with watch type/category whichever that I prefer BUT can ONLY purchase for celebration of achievement(s) or important milestone(s) in life.

Rule#4 Must NOT put myself into financial problem.

My Current Collection

Rolex Submariner Reference 1680

My vintage Rolex Submariner Ref.1680 with other watches in my collection
  • Category: Vintage Watch / Family Heirloom
  • Year of Acquisition: 1994
  • Details: (Source: https://www.bobswatches.com/rolex-blog/watch-review/appeal-reference-submariner-1680.html)
    • Production Years: 1967-1980 (approx)
    • Case & Crystal: Stainless Steel Black Dial / Acrylic with Cyclops and Oyster Bracelet
    • Bezel: Bidirectional Black Aluminum Insert with 60-minute timing scale
    • Dimensions: 40mm Diameter / 20mm Lug width
    • Movement: Caliber 1575 (Cal.1570 base) Automatic winding
    • Water Resistance: 200 meters / 660 feet
    • Fun facts: Ref.1680 is the first reference that Rolex introduce a date function in Submariner product line. I swapped the bracelet to suede leather strap to fit in the ‘weekend watch’ & ‘vintage vibe’
  • My story:

I received this watch as a present from my uncle when I got into School of Architecture 18 years ago (when the watch price wasn’t as crazy as today). When I saw my uncle wore this Rolex Sub for the first first time, I absolutely loved it. I asked him so many questions about this watch until he told me that “If you can get in to Architectural School, I will buy you one”.

I’ve worn this watch almost everyday thru my bachelor degree and my master degree in the USA. It went everywhere around the world with me during the beginning of my career (you can see what this watch has been thru from the photo) . I still wear it these days but only on the weekend and it’s still running great!! It really hard to argue that Rolex has create tough watches but yet so beautiful and really iconic.

Swatch Quartz Chronograph

The Swatch Quartz Chronograph that’s not the ‘MoonSwatch’
  • Category: Fun Watch / Family Heirloom
  • Year of Acquisition: Unknown
  • Details:
    • Case & Bracelet: Stainless Steel
    • Dimensions: 43mm case width / 12.67mm thickness / 49mm lug-to-lug
    • Movement: Quartz
    • Functions: Chronometer with Date window at 4.30
    • Water Resistance: 30 meters
    • Fun fact: Do you know that you can go to Swatch shop to replace battery free of charge as long as you own the (s)watch?
  • My story:

When I first saw this watch it was on my father’s wrist long time ago. It was a cool watch. I cannot recall that I asked my dad to have this watch or not? But it turned out that I found it in my drawer when I was clearing out my room at my parents’ house at the time that they sold that house and to move to their new house.

When I saw this watch again in my drawer it reminded me of the ‘Speedy’ ; Omega Speedmaster (at that time the MoonSwatch wasn’t exist). So I decided to keep it because I know that I can do something fun with this watch. Just early this year, I went to Swatch shop to replace the battery. Luckily, the watch still running but the chronograph function isn’t. Also I replaced a broken bracelet with Swatch’s brown leather strap (too bad – we cannot use after market strap with Swatch).

I wear this watch occasionally. For me, this watch is not about wearing it BUT every time that I see it, I see my childhood & my relationship with me and my dad.

Apple Watch Series 7 45mm Stainless Steel in Silver

Apple Watch Series 7 in Stainless Steel with Milanese Bracelet (Loop)
  • Category: Smart Watch
  • Year of Acquisition: Early 2022
  • Details:
    • Case & Bracelet: Stainless Steel & Milanese Style Bracelet
    • Dimensions: H 45mm W38mm D10.7mm
    • Chip: S7 with 64-bit dual core processor / W3 Apple wireless chip / U1 chip (Ultra Wideband)
    • Functions: (Key Features)
      • GPS + Cellular with Wi-Fi & Bluetooth connectivity
      • Always-on display
      • Blood Oxygen Sensor
      • Electrical Heart Sensor
      • Fall Detection
      • and the list goes on…
    • Water Resistance: 50 meters (Water Sport Proof)
    • Fun fact: Do you know that the 1st Apple Watch model called “Series 0 (zero)”?
  • My Story:

My family and my friends know that I’m an Apple Fanboy. My first Apple product was iMac G3 (the one that came out with Blue, Red, Green, Yellow, and Purple color options). I owned Apple Watch since Series 0 (zero) and I keep updating my Apple Watch along the way.

For this update, I chose the ‘Stainless Steel’ model, even though it’s more expensive than the Aluminum model with almost the same functions. The reason was purely my Watch Enthusiastic. I want to wear a Smart Watch that has a finishing quality closes to Analog Watch as much as possible.

Normally, I wear Apple Watch when I do some exercises i.e. running, tennis, swimming, and tracking my sleep. I admit that I cannot stay away from Tech products. I wanna try new features (especially Apple’s product). That’s why Apple Watch is in my collection and it definitely will be in the future.

Seiko 5 Reference SNXS73K1 (A Budget Friendly ‘Date Just’)

Some say this is a budget friendly ‘Date Just’ and some say ‘Oyster Perpetual’
  • Category: Weekend Sport Watch
  • Year of Acquisition: 2021
  • Details:
    • Case & Crystal: Stainless Steel & Hardlex Crystal
    • Dial: Silver Sun Burst with applied Markers with Lume
    • Dimensions: 37mm Diameter / 12mm Thickness / 19mm Lug width
    • Movement: Seiko Caliber 7S26 Automatic winding
    • Functions: Time with Running Seconds; Day-Date Display
    • Water Resistance: 30 meters
    • Fun fact: The “5” is a reference to the attributes that any Seiko 5 watch would offer;
      • Automatic Winding
      • Day & Date Display
      • Water Resistance
      • Recessed crown at 4 o’clock
      • Durable Case
  • My story:

I remember clearly that I knew this watch from ‘Pond Review’ (Thai with English Subtitle) and ‘Wimol Tapae’ (Thai Language) Channel. They were both provided a great review on this watch. There are also many ‘Watch YouTubers’ around the world give praise to this watch as ‘Entry Level Mechanical Watch’, ‘Best Watch for $100’, etc.

So last year, I decided to buy one to give it a try. I can tell all of you that this watch is worth every penny. I got many many compliments when I wore this watch. People always have an impression that this watch cost more than $100.

It’s very comfortable to wear and the legibility is very good (plenty of Lume as well). I don’t mind much about its accuracy (-20/+40 second per day) because I wear this watch occasionally during a weekend or a short travel trip.

Another downside of this watch beside the accuracy is its bracelet. The first thing I did when I got this watch was changing to vintage style leather strap (19mm lug width) which turned out very nice (for me). This watch definitely stays in my collection.

Jaeger-LeCoultre Reverso Classic Medium Thin Reference JLQ2548440

My Reverso with Ostrich Leather Strap
  • Category: Everyday Dress Watch
  • Year of Acquisition: 2022
  • Details:
    • Case & Crystal: Stainless Steel with Sapphire Crystal
    • Dial: Sivered grey, Vertical satin-brushed and guilloche, Black transferred numerals
    • Hands: Baton with heated blue steel
    • Dimensions: (L x W): 40.1 x 24.4mm
    • Movement: Manual winding Caliber 822A/2, Components; 108, Vibrations per hour: 21600, Jewels: 19, Power Reserve: 42 hours
    • Function: Hour – Minute
    • Water Resistance: 30 meters
    • Fun fact: First released in 1930 for Polo sport players, Reverso originally was released as ‘Sport Watch’ with the ‘Art Deco Style’ influences, it is the most elegant sport watch of all time.
  • My story:

This is my latest acquisition. I just got this watch in October 2022. It is a very special watch to me as I made My Dream (Comes True) Watch post separately.

I ordered this Reverso at Jaeger-Lecoultre Boutique Siam Paragon (Bangkok, Thailand) in August 2022. Even though I have to wait for 2 months; one month for order a new watch from Switzerland and another month for personal engraving on the case back, it was a great experience with all the services from SAs in the boutique.

I originally placed an order of my Reverso with a Dark Brown Alligator Strap (will add photo more in future) BUT since I planned to wear this watch daily (perfect with my Classic Menswear style), I also order another strap in Light Brown Ostrich (as shown in photos) which would fit more with my daily wear. And I keep the alligator strap for some special Night Events (thanks to quick release system that comes with the watch & strap).

My journey with my Reverso has just begun and this watch will stay in my collection forever until I pass it on to my daughter.

My ‘Wish List’ Watches

In order to keep this post not too long to read. Let’s continue my ‘Wish List’ watches in the next post.

My Final Thought

As usual, what do you guys think? Please feel free to drop your comments. Any opinion and suggestion are very welcome here.

Please help to support my works by visiting & following my IG account @my.six.point.five.inch.wrist

Thank you & See you on the next one!!