มารู้จักที่มาของนาฬิการหัส W10 กันครับ ว่าทำไมผมถึงหลงรักนาฬิกาทหารจากฝั่งอังกฤษเรือนนี้ ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้ว เราหยุดกันไว้ที่จุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 เราได้รู้จัก “Trench Watch” และ “WWW – Wrist Watch Waterproof” และ “Dirty Dozen” แต่การพัฒนานาฬิกาเพื่อการทหารยังดำเนินต่อไป เนื่องจากยังมีความต้องการอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการทหาร เพื่อเข้าสู่ยุค “สงครามเย็น (Cold War)”

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (Post War Period) จนถึงช่วงยุคสงครามเย็น (Cold War) (ค.ศ. 1947 – 1991 หรือ พ.ศ. 2490 – 2534)

กินระยะเวลายาวนานถึง 44 ปี ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 9

และในช่วงเวลานี้ นี่เองที่เป็นจุดกำเนิดของนาฬิการหัส W10 ยิ่งไปกว่านั้น นาฬิกาที่หลายๆ คนอาจจะพอคุ้นตาอย่าง JLC for RAF (Royal Air Force) และ IWC Mark XI ก็ถือกำเนิดในยุคนี้เช่นเดียวกัน โดยในช่วงทศวรรษ 1960s ทาง MoD (Ministry of Defence) เริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อผลิตนาฬิกาที่ออกแบบโดยกองทัพอังกฤษ และผลิตในประเทศอังกฤษ ซึ่งผู้ผลิตนาฬิกาจากอังกฤษคนนั้น ก็คือ Smiths และนาฬิกาดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า Smiths W10 นั่นเอง

จุดกำเนิด Smiths W10

Smiths คือ กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรม สัญชาติอังกฤษที่ผลิตอุปกรณ์จับเวลาให้กับกองทัพอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1947 ทาง Smiths ยังคงดำเนินการผลิตนาฬิกาต่อมา จนมาเริ่มผลิตนาฬิการุ่น High grade สำหรับพลเรือน ซึ่งผลิตโดยคนอังกฤษ และภายในประเทศอังกฤษทั้งหมดทุกขั้นตอน

ภาพนาฬิกา Smiths W10 รุ่นปี 1968 ผลิตให้กับกองทัพบกอังกฤษ แสดงให้เห็นรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ตามคำอธิบายด้านล่าง (Photo Credit: www.anordain.com)

และอีก 21 ปีต่อมา ในปี 1968 ทางกองทัพอังกฤษ มีนโยบายที่จะออกนาฬิกา W10 ซึ่งเป็นมาตราฐานใหม่ในการออกแบบนาฬิกาทางการทหารของทางฝั่งกองทัพอังกฤษ โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • “White on Black” คือมีพื้นหน้าปัดเป็นสีดำ ส่วนหลักชั่วโมง นาที และเข็มนาฬิกาเป็นสีขาว เพื่อการอ่านค่าเวลาที่ชัดเจนที่สุด
  • หลักชั่วโมงเป็นตัวเลขอารบิก และมีสัญลักษณ์ รูปสามเหลี่ยม ที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา เพื่อใช้เป็นหลักในการอ่านเวลา ว่าปลายสามเหลี่ยมจะต้องชี้ขึ้นเสมอ เพื่อป้องกันการสับสน ระหว่างตำแหน่ง 12 นาฬิกา และ 6 นาฬิกา
  • หลักนาที เป็นรูปแบบ “รางรถไฟ” หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า “Railroad Minute Track”
  • ใช้สารเรืองแสง Tritium บนตัวเข็มชั่วโมง เข็มนาที และหลักชั่วโมง พร้อมด้วยสัญลักษณ์ ตัวอักษร T อยู่ในวงกลม อันเนื่องจาก Tritium เป็นสารกัมมันตรังสี
  • มีการระบุตราสัญลักษณ์ “หัวลูกศร” (Broad Arrow) เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสมบัติของทางกองทัพฯ
  • ต้องสามารถดึงเม็ดมะยม เพื่อหยุดเข็มวินาทีได้ (Hacking Second Hand) สำหรับการ sync เวลาให้ตรงกัน สำหรับภารกิจต่างๆ

ดังนั้นการที่ Smiths ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษแท้ๆ มาผลิตนาฬิกา W10 จึงถือว่าเป็นนาฬิกา W10 รุ่นเดียวที่ผลิตจากบริษัทสัญชาติอังกฤษ และผลิตในประเทศอังกฤษทั้งหมด โดยรุ่นอื่นๆ ของ W10 ที่ตามมาภายหลังนั้น ผลิตออกประเทศอังกฤษทั้งหมด

ด้านหลังตัวเรือนของนาฬิกา Smiths W10 รุ่นปี 1968 แสดงให้เห็นถึงการใช้ Nato Stock Number – NSN ตามคำอธิบายด้านล่าง (Photo Credit: www.anordain.com)

นอกจากนั้น นาฬิกา Smiths W10 ยังถึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้อักษรย่อ “NSN” (Nato Stock Number) ซึ่งเป็นรหัสทางการทหาร ที่ใช้อย่างแพร่หลายกับนาฬิกาในกองทัพอังกฤษ ในช่วงยุค Post War ยกตัวอย่างเช่น W10/6645-99 ซึ่งอ่านค่าได้ว่า

  • 6645 เป็นรหัส NSN สำหรับอุปกรณ์จับเวลา
  • 99 เป็นรหัส NSN เพื่อแสดงถึงประเทศอังกฤษ

จุดกำเนิด Hamilton W10

จนเข้าสู่ช่วงปีทศวรรษที่ 1970s กองทัพสหราชอาณาจักร มีปัญหาทางการเงิน เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทั้งประเทศ สายการผลิตนาฬิกาของ Smiths ต้องหยุดทำการ และได้มีบริษัทใหม่ซึ่งคือ Hamilton มาเริ่มการผลิตนาฬิกา W10 แทนเวอร์ชั่นของ Smiths โดยได้ผลิตออกมาในช่วงปี 1973-1976

นาฬิกา Hamilton W10 รุ่นปี 1975 จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบต่างๆ ไม่ต่างไปจาก Smith W10 ยกเว้นตัวเรือนที่เป็นทรง Tonneau (Photo Credit: www.anordain.com)

โดยที่เวอร์ชั่นของ Hamilton นั้นขับเคลื่อนด้วยกลไก Calibre 649 ซึ่งก็อยู่บนพื้นฐานของเครื่อง ETA 2750 (เครื่องสวิสฯ) พร้อมด้วยกลไกหยุดเข็มวินาที แต่มาในตัวเรือนทรง Tonneau Shaped Case ซึ่งเป็นที่นิยมในยุค 70s โดยตัวเรือนถูกออกแบบให้เป็นชิ้นเดียว (monocoque design) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำ โดยการเข้าถึงกลไกต่างๆ จะต้องทำผ่านการถอดกระจกด้านหน้าเท่านั้น

แต่ยังคงใช้สารเรืองแสง Tritium พร้อมด้วยสัญลักษณ์อักษร T อยู่ในวงกลม โดยสาร Tritium นั้นเป็นสารกัมมันตรังสี ที่เบาบางกว่า Radium เป็นอย่างมากคือมี half-life ที่ 12 ปี (เมื่อเทียบกับ Radium ที่มี half-life ที่ 1,600 ปี) และถึงแม้ว่าเมื่อเสี่ยมสภาพแล้วจะไม่เรืองแสง แต่ Tritium จะเปลี่ยนสีตามกาลเวลาเป็นสีครีม (หรือที่เรียกว่า patina) อันเป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมนาฬิกาวินเทจ

ด้านหลังของนาฬิกา Hamilton W10 รุ่นปี 1975 ผลิดให้กับ กองทัพเรือ จะเห็นได้จากรหัส 0552 ใช้สำหรับ Royal Navy (Photo Credit: www.anordain.com)

โดยที่นาฬิกา Hamilton W10 นี้ถูกส่งให้ใช้กับทั้ง 3 กองทัพ คือ กองทัพบก, เรือ, และอากาศ โดยใช้รหัสแตกต่างกัน คือ

  • W10 ใช้สำหรับกองทัพบก (British Army)
  • 0552 ใช้สำหรับกองทัพเรือ (Royal Navy) แต่มีส่วนหนึ่งเป็นจำนวนไม่มากที่ใช้รหัส 0555 สำหรับ Royal Marines และ/หรือ Royal Navy)
  • 6BB ใช้สำหรับกองทัพอากาศ (Royal Air Force – RAF)

ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1970s ทาง Hamilton ได้รับผลกระทบจากวิกฤต Quartz Crisis ไม่ต่างจากบริษัทผลิตนาฬิกาอื่นๆ และสุดท้ายต้องถูกยกเลิกจากการผลิตนาฬิกาให้กับทางกองทัพฯ

จุดกำเนิด CWC W10

อย่างไรก็ดี ยังมีผู้บริหารของ Hamilton ที่เป็นคนสัญชาติอังกฤษชื่อ Mr. Ray Mellor มองเห็นลู่ทางว่ายังมีความต้องการนาฬิกาทหาร จากทาง Ministry of Defense (MoD) ดังนั้นในช่างเวลาดังกล่าว Mr. Ray Mellor ได้ก่อตั้งบริษัท Cabot Watch Company (CWC) เพื่อสานต่อการผลิตนาฬิกาให้กับทางกองทัพต่อจาก Hamilton

นาฬิกา CWC W10 รุ่นแรก ด้านหน้า (ปี 1976) และ ด้านหลัง (ปี 1977) ที่ส่งให้ทางกองทัพอังกฤษ (Photo Credit: www.anordain.com)

CWC เริ่มผลิตนาฬิกาส่งให้ทางกองทัพอังกฤษตั้งแต่ปี 1976 โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ จากสวิส เหมือนทาง Hamilton ทุกประการ ยกเว้นแค่เปลี่ยนโลโก้เป็น CWC บนหน้าปัดแทน แล้วหลังจากนั้นทาง CWC ก็กลายเป็นผู้ผลิตนาฬิกาหลักให้กับทางกองทัพฯ โดยมีการขยายไลน์การผลิตโดยมี รุ่น G10, มีนาฬิกาจับเวลา (chronograph) และนาฬิกาดำน้ำ จนไปถึงนาฬิกาสำหรับ หน่วยรบพิเศษอีกด้วย

บทสรุป

ก็จบไปแล้วนะครับ สำหรับประวัติ และที่มาของนาฬิกา W10 ที่ผมเชื่อว่า ใครที่ชื่นชอบนาฬิกาแนวทหาร น่าจะต้องรู้จัก หรือไม่ก็คุ้นกับรูปแบบของหน้าตานาฬิกา แต่ไม่ทราบว่ามันคือ W10 และผมหวังว่าข้อมูลที่ผมนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ จะทำให้หลายๆ คนรู้จักนาฬิกาเรือนนี้มากขึ้นนะครับ

ข้อมูลอ้างอิงมาจากบทความ: 100 Years of British Military Watches – Part 2 – anOrdain เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้นะครับ

ขอแถมนิดนึง สำหรับใครที่มีความคิดเหมือนกับผมที่ชื่นชอบ และอยากจะหานาฬิกา W10 มาใส่ และเก็บไว้ในคอลเล็คชั่น แต่ไม่อยากไปตามหาตัววินเทจ หรืออยากใส่โดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการดูแลนาฬิกาวินเทจ ผมขอแนะนำนาฬิกา 2 ยี่ห้อ ที่ผลิตตามรูปแบบเดิมไว้มากที่สุด และเพื่อนๆ ยังหาซื้อโดยตรงจาก Retailer ได้ ณ ปัจจุบัน คือ

เพื่อนๆ สามารถหาซื้อนาฬิกาเรือนนี้ได้จากเว็บไซท์ Hamilton หรือตัวแทนจำหน่ายทั่วไป หรือตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
  • Smiths Military PRS-29A by TIMEFACTORS
    • Case size: 36mm
    • Movement: Sellita SW210 Mechanical
    • Thickness (mm): 11.1
    • Lug width: 18mm
    • Water Resistance: 10ATM/100m/330 feet
สำหรับเรือนนี้จะต้องสั่งจากเว็บไซท์ของ Timefactors ตรงจากทางอังกฤษ โดยต้องเป็นการ pre-order เป็นรอบๆ นะครับ

หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือเห็นต่าง ตรงไหน อย่างไร สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ ทางด้านล่างได้เลยนะครับ ผมยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และหากมีข้อมูลอะไรผิดพลาด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ และฝากสนับสนุนผลงานของผม มาให้กำลังใจกันโดยการกดติดตาม IG: @mickyjicky และ @my.six.point.five.inch.wrist กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ ในโพสถัดไปครับ!!

สะสมนาฬิกายังไงให้สนุก? ลองหามุมที่คุณชอบ

จากโพสที่แล้ว ที่ผมได้เล่าเกี่ยวกับคอลเล็คชั่นนาฬิกาปัจจุบันของผมให้ทุกคนทราบกัน และผมได้ทิ้งโน๊ตไว้ว่า จะเล่าถึงนาฬิกาที่ผมวางแผนจะมีไว้ในคอลเล็คชั่นในอนาคต ในโพสถัดไป

แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องนั้น ผมอยากจะแชร์ “วิธีคิด” ที่ผมคิดว่า มีความสำคัญมาก ที่ทำให้การสะสมนาฬิกานั้น สนุกขึ้น และบางทีมันอาจจะทำให้มีคุณค่าทางจิตใจมากขึ้นด้วย เพื่อนๆ ลองพิจารณาดูครับ

สิ่งนั้นคือ การหา “มุมที่คุณชอบ” หรือ “มุมที่ทำให้คุณหลงใหล” ในนาฬิกา

ผมเชื่อว่า พวกเราในช่วงแรกๆ ที่เริ่มสนใจนาฬิกา เกือบจะทุกคนจะมุ่งความสนใจไปที่ นาฬิกายอดฮิตทั้งหลาย เช่น Rolex Submariner, GMT-Master II, Daytona, Omega Speedmaster, Seamaster, Patek Philippe Nautilus, Audemars Piguet Royal Oak

Source: www.gearpatrol.com

ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะนาฬิกาที่พูดถึงนั้นสวยทุกเรือน และอยู่เต็มหน้าฟีด บนโลกโซเชียล และก็เพราะนาฬิกาเหล่านี้นั่นแหละ ที่ทำให้พวกเราสนใจนาฬิกามาตั้งแต่แรก

Patek Philippe’s Nautilus 5711/1A-010 & Audemars Piguet Royal Oak Jumbo. Source: USA.watch pro.com

ตัวผมก็ไม่ต่างอะไรกับเพื่อนๆ ทุกคน ที่สนใจและอยากจะได้นาฬิกาเหล่านั้นมาเก็บไว้ในคอลเล็คชั่น แต่ก็ต้องเจอปัญหาว่า ทำไมราคามันถึงได้สูงเหลือเกิน แถมราคาก็ยังเพิ่มขึ้นทุกปีอีก และที่สำคัญสุดเลยคือ มันไม่สามารถซื้อกับทางตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (Authorized Dealer; AD) ได้ ด้วยเหตุผลว่า ไม่มีของในสต็อค แล้วจะต้องลงชื่อไว้ใน Interesting List (ขอย้ำว่า ไม่ใช่ Waiting List) ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะถึงคิวเราเมื่อไหร่ แต่ถ้าเป็นเรือนที่คนต้องการมากๆ ยังจะต้องไปซื้อเรือนอื่นๆ (ที่เราไม่ได้อยากได้) มาก่อน เพื่อสะสมยอดซื้อจนถึงระดับที่จะมีสิทธิ์ ลงชื่อใน Waiting List

ด้วยสถานการณ์แบบที่พูดถึงข้างต้น มันเคยถึงกับทำให้ผมเลิกสนใจนาฬิกาไปพักใหญ่ เพราะผมรู้สึกว่า มันไม่ใช่งานอดิเรกที่ทำให้เรามีความสุข หรือสนุกไปกับมันอีกต่อไป

จนมาถึงวันนึงที่ผมหันมาเปิดใจ และกลับมาเริ่มสนใจนาฬิกาอีกครั้ง แต่คราวนี้ (อาจจะเนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น และบวกกับการที่เราหันมาสนใจการแต่งตัวแบบ classic menswear ด้วย) ผมได้ศึกษาลงลึกมากขึ้น เกี่ยวกับนาฬิกาประเภทต่างๆ และจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่น YouTube ทั้งใน และต่างประเทศ และ Website ที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาของต่างประเทศ (เอาไว้ผมจะเขียนบทความแยกต่างหาก เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลนาฬิกาที่ผมเข้าไปติดตามเป็นประจำ)

มันทำให้ผมค้นพบว่ามันยังมีนาฬิกาที่สวย น่าสนใจ มีความซับซ้อน น่าศึกษา อีกเยอะมาก นอกเหนือจากนาฬิกาตามกระแสนิยมหลัก เช่น

Vintage Watches. Source: www.HODINKEE.com
  • นาฬิกาวินเทจ คือ นาฬิกาที่ถูกผลิตในช่วงก่อนปี คศ 1980 (พศ 2523) หรือบางแหล่งข้อมูลใช้หลักเกณฑ์ว่าเป็นนาฬิกาที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี หรือ 50 ปี เป็นต้นไป
  • Independent Watch Markers คือ นาฬิกาที่ถูกออกแบบ ทั้งรูปแบบ หน้าตา กลไก และถูกผลิตในปริมาณที่น้อย ภายใต้แบรนด์ของตนเอง ไม่ขึ้นตรงกับกลุ่มธุรกิจใหญ่ เช่น Roger W. Smith, Laurent Ferrier, MB&F, Naoya Hida เป็นต้น
  • นาฬิกา Microbrand คือ บริษัทนาฬิกาที่ออกแบบรูปแบบ หน้าตา ในรูปแบบของตนเอง แต่ใช้กลไกสำเร็จพร้อมใช้ เช่น Miyota, Seiko, Sellita, เป็นต้น
Japanese Indepent Watch Maker; Naoya Hida. Source: monochrome-watches.com
นาฬิกา Micro Brand. Source: Horologisto.com

นาฬิกาเหล่านี้ เหมือนเปิดโลกใหม่ให้กับผม ทำให้ผมตื่นเต้น อยากที่จะเรียนรู้และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และที่สำคัญคือ ทำให้ผมสนุกกว่าแต่ก่อนเยอะเลย

แล้วจะหา “มุมที่คุณชอบ” หรือ “มุมที่ทำให้คุณหลงใหล” ในนาฬิกา ได้อย่างไร?

มันไม่มีสูตรสำเร็จที่ทุกคนจะสามารถเอาไปใช้ได้นะครับ เพราะการจะหาสิ่งที่คุณชอบ มันเป็นเรื่องส่วนตัวมากๆ และก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยเฉพาะตัวบุคคลด้วย เช่น อายุ การทำงาน ไลฟ์สไตล์ และพื้นฐานความเป็นมาของแต่ละคน จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ก็จะมีส่วนทำให้ความชอบของแต่ละคน เปลี่ยนไปตามกาลเวลาด้วยอีกต่างหาก

ดังนั้นผมจึงขอยกตัวอย่างกรณีของผม เผื่อว่าทุกคนจะสามารถลองเอาไปประยุกต์ใช้กับตัวเองดูนะครับ ผมขอเขียนแยกเป็นหัวข้อตามนี้ครับ

  • อย่างที่ทุกคนพอจะทราบกัน ผมมีความชื่นชอบการแต่งตัวสไตล์ “Classic Menswear” ผมชอบใส่เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว ผูกเนกไท ใส่แจ็กเก็ต ใส่สูท กับรองเท้าหนัง มากกว่าจะใส่ เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ
  • ผมชอบใส่นาฬิกาขนาดกลางๆ คือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 36-40มม (ซึ่งหลายๆ คนอาจจะมองค่อนไปทางขนาดเล็กด้วยซ้ำ) ผมมีความรู้สึกว่านาฬิกาที่มีขนาดตั้งแต่ 42มม เป็นต้นไปนั้นใหญ่เกินไปสำหรับข้อมือขนาดเส้นรอบวง 6.5 นิ้ว (หรือ 16.5 ซม) ของผม ที่บอกว่าใหญ่เกินไป คือ เวลามองจะรู้สึกว่ามันเต็มข้อมือจนไม่เหลือพื้นที่รอบๆ เรือนนาฬิกา และรู้สึกไม่สบายข้อมือ (บางครั้งถึงกับรู้สึกเจ็บข้อมือด้วย) เมื่อใส่ไปนานๆ ทั้งวัน
  • ผมจบการศึกษามาทางด้านสถาปัตยกรรม มีความชื่นชอบทางด้านงานออกแบบ และศิลปะ
  • ที่สำคัญสุดเลย คือ ผมชอบที่จะใส่นาฬิกาที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลักทั่วไป (ไม่อยากใส่นาฬิกาไปซ้ำกับใครเยอะ)

จากเหตุผลที่ผมเล่ามาข้างต้น คงไม่ต้องแปลกใจที่ผมมี Rolex Submariner ตัววินเทจ และ Reverso Classic อยู่ในคอลเล็คชั่นของผม เท่านี้ก็น่าจะพอเดากันได้ว่า มุมที่ผมชอบก็คือ “นาฬิกาวินเทจ” แต่เนื่องจากผมไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ และความรู้เพียงพอที่จะสามารถแยกแยะนาฬิกาวินเทจว่าเรือนไหนของจริง ของปลอมได้ และผมก็ไม่อยากจะห่วงเรื่องการบำรุงรักษานาฬิกาวินเทจ ดังนั้น นาฬิกาที่ผมชอบก็คือที่เรียกกันว่าเป็น “Vintage (Re-issue) Watch” ซึ่งก็คือการที่แบรนด์นาฬิกาต่างๆ หยิบเอานาฬิการุ่นคลาสสิกที่มีประวัติมายาวนาน เรื่องราวที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมสูงในสมัยก่อน เอามันปัดฝุ่น แล้วใส่เทคโนโลยี กลไก ปัจจุบัน และวัสดุที่ทันสมัยเข้าไป เพื่อนำมาจำหน่ายในโอกาสพิเศษต่างๆ หรือในบางแบรนด์ เช่น Longines, Brietling, Grand Seiko ถ้าเพื่อนๆ เข้าไปดูในเว็บไซด์ ก็จะมีนาฬิกาประเภทนี้อยู่ใน “Heritage Collection”

พอจะเริ่มมองหา “มุมที่คุณชอบ” กันได้รึยังครับ?

เพื่อให้มองเห็นภาพมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ครับ

  • เพื่อนๆ อาจจะมองไปที่ “ประเภทของนาฬิกา” ต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัววินเทจ หรือจะเป็นรุ่นปัจจุบัน ก็ได้ เช่น

นาฬิกาดำน้ำ (Diver Watch)

Diver Watches. Source: www.HODINKEE.com

นาฬิกาจับเวลา (Chronograph Watch)

นาฬิกาจับเวลา source: www.HODINKEE.com

นาฬิกาสำหรับใช้ทางการทหาร (Military/ Field Watch)

Source: www.HODINKEE.com
  • หรือเราอาจจะเจาะลึกลงไปใน “ประเภทย่อย” ของนาฬิกาประเภทนั้นๆ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง นาฬิกาจับเวลา ล่ะกันนะครับ เพราะนาฬิกาจับเวลานั้น ยังมีการแยกออกเป็นประเภทย่อยๆ อีก เช่น

นาฬิกาจับเวลาสำหรับนักบิน (Pilot Chronograph) – คือนาฬิกาที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับกองทัพอากาศ

Pilot Chronograph Brequet Type XX. Source:www.HODINKEE.com

นาฬิกาจับเวลาสำหรับนักแข่งรถ (Racing/Driver Chronograph) – คือนาฬิกาจับเวลาในการแข่งในกีฬามอเตอร์สปอร์ต

Heuer Carrera Chronograph 160th Anniversary. Source: www.HODINKEE.com

นาฬิกาจับเวลาสำหรับ Dress Watch – คือนาฬิกาที่ใช้กลไกชั้นสูง (high horology) ซึ่งจะประกอบไปด้วยฟังก์ชั่น ปฏิทินถาวร (Perpetual Calendar) ข้างขึ้นข้างแรม (Moon Phase) การจับเวลา (Chronograph) หรืออาจจะมีฟังก์ชั่นมากกว่านี้

High Complication Patek Philippe. Source: www.HODINKEE.com
  • อีกมุมนึง คือการมองเจาะจงไปที่ช่วงเวลาที่มีผลกับการออกแบบนาฬิกา เช่น ในยุคปีทศวรรษที่ 60 และ 70 นั้น กระแสของศิลปะ และวัฒนธรรม มีผลทำให้งานออกแบบนาฬิกามีความแตกต่างอย่างชัดเจน เช่น

นาฬิกา Patek Philippe ในช่วงยุคทศวรรษที่ 70

A Patek Beta 21. Source: www.HODINKEE.com

นาฬิกา Seiko Chronograph ในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70

Seiko 6138 vintage chronograph. Source: 60clicks.com

บทสรุป

ผมหวังว่าจากที่ผมเขียนมาทั้งหมดให้ทุกคนข้างต้น จะพอให้ไอเดียกับเพื่อนๆ ในการหา “มุมที่คุณชอบ” หรือ “มุมที่ทำให้คุณหลงใหล” ในการสะสมนาฬิกากันได้ไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ผมของฝากข้อคิดที่ผมก็จำไม่ได้ว่าผมไปฟัง หรือไปอ่านมาจากไหน แต่มันติดอยู่ในหัวผมมาตลอด ก็คือ “เราไม่สามารถครอบครองนาฬิกาทุกเรือนที่ผมชอบได้ แต่เราควรจะรักนาฬิกาทุกเรือนที่อยู่กับเรา”

หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยตรงไหน สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ด้านล่างได้เลยนะครับ ยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และฝากสนับสนุน ผลงานของผมโดยการกดติดตาม IG @my.six.point.five.inch.wrist และ @mickyjicky ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ ในโพสถัดไปครับ!!

How to build a Watch Collection? Finding your “Niche”

In my previous post, I already told my stories related to all my the watches in my current collection. I also left a note that I will talk about my ‘Wish List’ watches in the next post.

BUT before I jump into my future watch acquisition plan, I would like to share one of key ideas that, for me, it makes ‘Collecting Watches’ more enjoyable and perhaps more meaningful.

You have to find your “Niche”

I believe, at the beginning stage when we just got bitten by a ‘watch bug’ and entered into the ‘watch world’, most of us are aiming our eyes on those steel sport watches like the Submariner, GMT-Master II, Daytona, Speedmaster, Seamaster, Nautilus, Royal Oak, etc. That’s quite normal because they are beautiful watches that make us interested in watches at the first place and they are everywhere on the Social Media Feeds.

Famous Rolex Sport Watches – photo source www.gearpatrol.com

I was in that position before and I felt quite frustrated and intimidated from the price tag and how hard to get one of those watches. I even stopped thinking about the watches for quite sometime because I think it is not an enjoyable hobby anymore. How can I enjoy my dream watches when I cannot get even one of them?

Patek Philippe’s Nautilus 5711/1A-010 & Audemars Piguet steel on steel Royal Oak Jumbo – photo source USA.watch pro.com

Until one day when I started to open my mind to look at the watches again BUT this time I went even deeper into this rabbit hole. Then I found out that there are many more types of watch beside the Big name Steel Sport watches.

There are Vintage Watches, Independent Watch Makers, Micro Brands, etc. They took me to another side of the ‘Watch World’ where I feel so excited and I feel fascinating when I look at them. They make me want to search more and dig deeper and most importantly, it’s much more fun!!

Micro Brand Watches – photo source Horologisto.com

How to find your niche?

This is a bit tricky. There is no ultimate formula for everyone to use. It relates to individual factors i.e. age, occupation, lifestyle, personal background, etc. As you can see, it’s very personal and it’s very dynamic (that means your niche will change overtime).

Therefore I would like to use my case as an example and I hope that you guys can adapt to yours.

As I mentioned before, I have a passion on ‘Classic Menswear’. I am wearing shirt, trouser, tie, jacket, suit, and leather loafer more than T-shirt, Jean, and sneaker. I prefer ‘Medium Size Watch Case’ approx 36-40mm in diameter. I consider watch size from 42mm and above is too big for my wrist and uncomfortable to wear in a long term (my wrist size is 6.5 inch or 16.51cm in circumference). My educational background is in architecture, art, and design. Ultimately I always gravitate towards watches that not in the main stream.

All the above combined, no wonder why I have “Vintage Rolex Sub” and “Reverso Classic” in my collection. Yes, my Niche is a “Vintage Watch” BUT I am NOT expert enough to be able to authenticate them from the vintage watch sellers and I do NOT want to get hassled on the maintenance issues as well. So my Niche becomes “Vintage (Re-issue) Watch”; when the brands use the classic watch models in their archive and apply new technologies and materials in the modern day to release on their special occasions. Or we can find in “Heritage Collection” in many brands like Longines, Brietling, Grand Seiko, etc.

So…What is your niche?

I hope my case study can give you guys some ideas. And to you some ideas, your niche can be;

  • Specific Category of watch such as:
    • Diver watch
    • Chronograph watch
    • Military/Field watch, etc. It can be current model or vintage model. It depends on your preference.
  • In each category, we can go into specific Sub-category. For example, Chronograph watch, there are:
    • Pilot Chronograph: watches designed for military pilots
    • Racing Chronograph: watches designed for motor sports
    • Grand Complication Chronograph: high horology watches with many complications like perpetual calendar, moon phase, and chronograph functions
  • Specific Period of watch: There are specific design language from 60’s & 70’s period which make watches from that period very unique. For example:
    • 1970’s Patek Phillipe
    • 1960’s & 1970’s Seiko Chronograph

My Final Thought

There is a phase that I read from somewhere (I cannot recall) which very move me. It says “You cannot have all the watches that you love BUT you should love all the watches that you have”. It really sticks into my head and it got me thinking for quite sometime until I’ve found my niche.

Lastly, what do you guys think? Do you have your niche yet? Please feel free to share your thought below. Any opinion and suggestion are very welcome here. Please also consider to support my works by visiting & following my IG accounts @mickyjicky & @my.six.point.five.inch.wrist

Thank you & See you again on the next post!!