เล่าเรื่องนาฬิกา Vintage Seiko Speedtimer “Panda” Ref.6138-8020 ตอนที่ 1

ที่มา ความชอบ ประสบการณ์การตามหากับ 2 ปีที่รอคอย กับอีก 1 ปีในการใช้งานจริง บทเรียนที่ได้มา และสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากนาฬิกาเรือนนี้ เนื่องจากผมตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวในทุกแง่มุมโดยละเอียด และเพื่อไม่ให้บทความยาวจนเกินไป ผมจึงต้องขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอนหลักๆ ก็คือ

  1. ที่มาของความชอบ
  2. ช่วงเวลาตามหา และการรอ
  3. บทเรียนต่างๆ และการแก้ปัญหา
  4. ประสบการณ์ใช้งาน และใช้ชีวิตกับนาฬิกาเรือนนี้

ตอนที่ 1 ทำไมต้องเป็นเรือนนี้

ถ้าจะให้พิจารณาหาเหตุผล ก็คงน่าจะมาจากความชอบในฟังก์ชั่นจับเวลา ซึ่งถ้าเราคิดถึงในสมัยก่อนที่จะมีเครื่องมือจับเวลาที่เป็นระบบดิจิตอล นาฬิกาที่มีกลไกจับเวลาถือเป็นเครื่องมือชนิดเดียวที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ เช่น ในการแข่งขันกีฬาเพื่อพิสูจน์ความเร็ว หรือใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ต้องการความแม่นยำในการจับเวลา แม้แต่เรื่องในชีวิตประจำวัน เช่นการทำอาหาร ทุกคนเกี่ยวผันกับเวลากันทุกวัน จนบางทีเราอาจจะลืมนึกถึงไปด้วยซ้ำ และเมื่อนึกถึงว่าภายในนาฬิกาเรือนเล็กๆ นี้บรรจุไปด้วยกลไก ฟันเฝือง ชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อใช้ทั้งบอกเวลา และยังสามารถให้เราจับเวลาสำหรับกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วย สำหรับผมนั้นมันน่าทึ่งมากๆ

สำหรับผม ในวัยเด็ก (คงไม่ต่างเด็กผู้ชายหลายๆ คน) นั้นมีความหลงใหลในเรื่องของระบบสุริยะจักรวาล และการเดินทางออกนอกโลกไปในอวกาศ และอีกเรื่องที่หลงใหลไม่แพ้กัน คือการรถแข่ง การได้เห็นรถที่ออกแบบมาเพื่อทำความเร็ว และวิ่งในสนามแข่ง ทำให้รู้สึกตื่นเต้น และทำให้ผมมุ่งความสนใจไปได้ทุกครั้ง ดังนั้นนาฬิกาที่ผมได้เห็นคุ้นตา ที่ได้เห็นนักบินอวกาศ และนักขับรถแข่งใส่บนข้อมือของพวกเขา ก็nคือนาฬิกาจับเวลา และในภาพจำของผมก็คือ Omega Speedmaster และ Heuer Carrera

และถ้าพิจารณาต่อไป ผมมองเห็นถึงเสน่ห์ และความสวยงามที่นาฬิกาจับเวลามี แต่นาฬิกาประเภทอื่นไม่มี ก็คือ sub-dials กับขอบ bezel ที่แสดงตัวเลขต่างๆ ที่ดูสลับซับซ้อน และ ปุ่มด้านข้างที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน Start / Stop / Reset ที่สร้างความแตกต่าง และเป็นเอกลักษณ์ที่เราสามารถมองเห็นแต่ไกลว่า “นี่คือนาฬิกาจับเวลา”

The 1st Automatic Chronograph Watch in the world

ในช่วงแรกที่ผมสนใจเกี่ยวกับนาฬิกา ก็คงไม่ต่างจากทุกๆ คน ที่เราจะรู้จักกับ Omega Speedmaster เป็นลำดับแรกๆ และก็อย่างที่ทุกคนทราบกันว่า Speedmaster ใช้กลไกไขลาน อันที่จริงแล้ว กลไกสำหรับนาฬิกาจับเวลาในระบบไขลานได้ถูกคิดค้นได้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1816 ณ เวลานั้นยังเป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะ จนเมื่อปี ค.ศ.1913 เกือบ 100 ปีต่อมา ทาง Longines ได้พัฒนากกลไกนาฬิกาจับเวลาสำหรับนาฬิกาข้อมือ แต่กว่านาฬิกาข้อมือจะเป็นที่นิยม ก็คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังปี ค.ศ.1945 ถ้านับโดยรวมเป็นเวลาประมาณเกือบ 130 ปี

The first modern Chronograph by Louis Moinet

แต่กว่ากลไกออโตเมติก สำหรับนาฬิกาข้อมือจับเวลาจะถูกคิดค้น และพัฒนาจนสำเร็จได้ในปี ค.ศ.1969 ถ้านับจากเมื่อโลกมีกลไกจับเวลา ไขลานสำหรับนาฬิกาข้อมือครั้งแรก ก็ใช้เวลาเกือบ 60 ปี

56 Years ago, who was the first? Heuer, Breitling, Buren-Hamilton, Zenith, or Seiko?

ครั้งแรกที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลนี้ ยิ่งที่ให้ผมทึ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับวงการนาฬิกาในช่วงปี 1913-1969 หากลองพิจารณาระยะเวลาการในที่จะพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใดๆ ระยะเวลา 60 ปีนับเป็นเวลาที่นานมาก ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่า การพัฒนากลไกจากไขลาน มาสู่ออโตเมติกของนาฬิกาจับเวลาไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ และสิ่งที่ทำให้ผมให้ความสนใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากก็เพราะว่า ในประวัติศาสตร์ของนาฬิกามีหลากหลายความคิดเห็นว่า “ใครกันแน่ที่เป็นแบรนด์นาฬิกาเจ้าแรกที่ผลิตนาฬิกาจับเวลาออโต้ได้สำเร็จ?” ตามที่ได้เล่าให้ฟังไปก่อนหน้านี้ ปี ค.ศ.1969 (ตรงกับ พุทธศักราช 2512) นั้นเป็นปีที่มีความสำคัญ และเหตุการณ์น่าสนใจ ตามลำดับเวลาดังนี้

เดือนมกราคม ค.ศ.1969: “El-Primero”

วันที่ 10 มกราคม ปี 1969 ทางแบรนด์ Zenith ได้เปิดตัว prototype รุ่น El Primero เป็นครั้งแรก นาฬิกาตัวต้นแบบนี้ใช้เครื่องคาลิเบอร์ 3019 PHC ซึ่งเป็นระบบ Column Wheel ความถี่สูง 5Hz และมีพลังงานสำรองได้ 50 ชั่วโมง แต่เนื่องจากแบรนด์ Zenith ในสมัยนั้น ยังเป็นแบรนด์เล็กๆ ที่ยังไม่มีความสามารถในการผลิตได้อย่างรวดเร็ว กว่าที่ทางแบรนด์จะสามารถผลิตนาฬิกาตัวที่เป็นสินค้าสำหรับขายจริงได้ ก็คือเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน และก็เป็น Zenith El Primero นี่เองที่ทาง Rolex นำเครื่องไปใช้กับรุ่น Daytona ในช่วงปี 1988-2000 โดยสรุป Zenith ถือเป็นแบรนด์แรกที่ได้เปิดตัวกลไก El Primero สำหรับการจับเวลาระบบออโต้ สู่สาธารณะเป็นเจ้าแรก

เดือนมีนาคม ปี 1969: “Calibre 11”

The Project 99 & Caliber 11

ด้วยความร่วมมือกันของแบรนด์นาฬิกาสวิส Heuer, Breitling, Buren-Hamilton กับแบรนด์ผลิตกลไกนาฬิกาจากสวิสชื่อ Dubois-Depraz ภายใต้โครงการชื่อ “Project 99” ได้ประกาศสู่สาธารณะว่าสามารถผลิตกลไกจับเวลา ระบบออโต้ ภายใต้ชื่อ “Chromatic” โดยที่กลไกนี้ใช้ระบบ “lever-and-cam” ซึ่งเป็นกลไกแยกชุดสำหรับใช้ประกบกับกลไกนาฬิกาบอกเวลาปกติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถนำ โมดูลจับเวลา Chronomatic นี้ไปใช้ได้กับ กลไกบอกเวลาปกติของแต่ละแบรนด์ที่มาร่วมโครงการนี้ได้ ในลักษณะเดียวกันกับทาง Zenith ทางทีม Project 99 ยังไม่มีนาฬิกาออกขายสู่ตลาดได้จริง จนต่อมาทาง Heuer, Breitling, Buren-Hamilton ได้จำหน่ายนาฬิการุ่นต่างๆ เช่น Monaco, Autovia, Navitimer, และ Chronomatโดยใช้กลไกชื่อเดียวกันคือ “Caliber 11” ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมาในปีเดียวกัน

เดือนพฤษภาคม ปี 1969: “Caliber 6139”

Seiko 6139 Speedtimer

ทางแบรนด์ Seiko ได้เปิดตัว และเปิดขายนาฬิกาจับเวลาระบบออโต้เป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อรุ่นว่า “Speedtimer” แต่เป็นการขายเฉพาะภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น โดยใช้กลไกคาลิเบอร์ 6139 ซึ่งเป็นระบบ Column Wheel ผนวกเข้ากับ Vertical Clutch มีการแสดงหน้าปัดย่อยในการจับเวลาได้สูงสุด 30 นาทีในตำแหน่ง 6 นาฬิกา และยังมีฟังก์ชั่นบอก วัน และวันที่ ที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา

จากที่ผมได้บรรยายมาทั้งหมดข้างต้น หรือเราจะบอกได้ว่าแบรนด์ที่สามารถผลิตกลไกได้สำเร็จ และสามารถจำหน่ายให้ลูกค้าได้ใช้งานจริงๆ เป็นคนแรกก็คือ แบรนด์ Seiko? อันนี้ก็แล้วแต่ความเห็นของแต่ละบุคคล

When I first met the 6138-8020

เมื่อผมได้รู้จัก Seiko Ref.6139 ถึงแม้ผมจะชื่นชมในความเป็นนาฬิกาแบรนด์ญี่ปุ่นที่สามารถแข่งขันในการพัฒนาได้เทียบเท่ากับเหล่าแบรนด์สวิส แต่ผมก็ยังไม่ได้ชอบกับหน้าตา ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงเคส การวางรูปแบบหน้าปัด หรือแม้แต่คู่สีที่ทาง Seiko เลือกใช้ และความสนใจของผมก็หยุดไว้แค่นั้น จนกระทั่งวันนึงที่ผมไปเปิดเจอโพสนี้เข้า

Post from IG Account: A_WATCHGUYS_LIFE

ครั้งแรกที่ผมเห็นนาฬิกาเรือนนี้ ผมสะดุดกับหน้าปัดเป็นอย่างแรกที่ทำให้ผมหยุดจ้องดูอยู่นานว่า อะไรที่ทำให้ผมชอบนาฬิกาเรือนนี้ มากกว่า Seiko Chronograph เรือนอื่นๆ ที่ผมเห็นผ่านมาหลายต่อหลายรุ่น

  • ความเป็นเอกลักษณ์

โดยทั่วไปที่เราเห็นนาฬิกา Chronograph จากแบรนด์ Seiko ในยุคปัจจุบัน มักจะออกแบบโดยไปอิงกับหน้าตาการออกแบบของ Rolex Daytona คือการวาง sub-dial สามวง อยู่ในส่วนครึ่งวงกลมล่างของหน้าปัดนาฬิกา และการออกแบบ แบบนี้ที่ไม่เคยเรียกความสนใจจากผมได้ และยิ่งได้ฟังรีวิวว่า “มองไกลๆ เหมือนได้ใส่ Daytona” ยิ่งทำให้ผมถอยห่างจาก Seiko Chronograph ในยุดปัจจุบัน

Modern Seiko Chronograph Watches

แต่สำหรับ Seiko Ref.6138 มีการจัดวาง Sub-dial ที่แตกต่างชัดเจน โดยมีเพียงสองวง และวางในแนวตั้งที่ตำแหน่ง หกนาฬิกาเป็นการแสดงการจับเวลาในหน่วยนาที และที่สิบสองนาฬิกาเป็นการแสดงการจับเวลาในหน่วยชั่วโมง (Ref.6139 มีเพียง sub-dial เดียวที่ หกนาฬิกา เพื่อแสดงหลักนาที) การออกแบบ และการจัดวางแบบนี้ สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างมาก

  • ความสมดุล สมมาตร และสะอาดตา

นอกจาก Sub-dial ในแนวตั้งจะสร้างเอกลักษณ์ในการออกแบบ ยังแบ่งหน้าปัดออกเป็น 2 ข้างซ้าย ขวาได้อย่างสมดุล การแก้ปัญหาในการออกแบบอย่างชาญฉลาดยังไม่จบแค่นั้น ผู้ออกแบบย้ายตำแหน่งโลโก้ที่ปกติจะวางอยู่บริเวณใต้ตำแหน่งหลักชั่วโมงที่ 12 นาฬิกา ให้มาอยู่ทางฝั่งซ้ายของหน้าปัดที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกา และยังออกแบบให้ขนาดฟอนท์ และความยาว เพื่อให้บาลานซ์กับขนาดหน้าต่างวัน และวันที่ ที่อยู่ฝั่งขวาบริเวณ 3 นาฬิกา ผลลัพธ์ที่ได้คือหน้าปัดที่ออกแบบ การวางตำแหน่งได้สมดุลทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ไม่มีสิ่งใดมาขัดสายตาเลยแม้แต่น้อย

อีกหนึ่งการออกแบบที่ทำให้หน้าปัดนาฬิกาเรือนนี้ดูไม่รก และไม่เต็มไปด้วยตัวเลขต่างๆ ตามลักษณะที่เราสามารถเห็นได้โดยทั่วไปของนาฬิกา Chronograph ก็คือการตัดสินใจย้าย Tachymeter scale จากขอบเบเซิลภายนอกให้มาอยู่ขอบด้านในรอบหน้าปัดนาฬิกา (inner chapter ring) โดยที่วางอยู่บนพื้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างหน้าปัด และกระจกคริสตัล (มีศัพท์เฉพาะเรียกบริเวณดังกล่าวว่า rehault)

อย่างสุดท้ายก็คือ “หลักชั่วโมงที่เป็นหลักขีด” ถ้าลองนึกกันดีๆ โดยทั่วไปนาฬิกา Chronograph จะออกแบบหลักชั่วโมงให้เป็นขีดอยู่แล้ว เพื่อลดจำนวนตัวเลข ที่มีเยอะอยู่แล้วบนหน้าปัด และถ้ามองในแง่ของความจำเป็นในการใช้งาน เราไม่จำเป็นต้องอ่านเวลาในหลักชั่วโมงให้ชัดเจนเหมือนกับนาฬิกาทางการทหาร เช่น Field Watch หรือ Pilot Watch ที่แสดงหลักชั่วโมงเป็นตัวเลขอารบิกให้ตัวใหญ่ชัดเจนเพียงแค่เหลือบตามอง

ทั้งหมดนี้เมื่อนำมารวมกันทำให้ผลลัพธ์ที่ได้คือ หน้าปัดนาฬิกาที่แบ่งน้ำหนักได้สมดุลทั้งสองแกน มีความสมมาตรในการวางตำแหน่งส่วนที่สำคัญต่างๆ ทั้งหมด และยังดูสะอาดตา อ่านค่าทุกอย่างได้อย่างถูกต้องชัดเจนตามหน้าที่ ที่ควรจะเป็น

  • สี และสัดส่วนสำคัญ

หลักๆ ก็คือหน้าปัดเรือนนี้มีพื้นหลังสีขาว และ sub-dial เป็นสีเข้ม หรือที่เรารู้จักกันว่า “Panda Dial” สำหรับตัวผมมีความชอบหน้าปัด panda มากกว่า reversed-panda เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอมาเจอเรือนนี้จึงถูกใจได้ไม่ยาก แต่ที่ผมเห็นความตั้งใจอีกอย่างของผู้ออกแบบก็คือการควบคุมปริมาณของสีไม่ให้มากจนเกินไป ถ้าเรามองให้ดีๆ จะเห็นว่าหลักๆ บนหน้าปัดมีเพียง 2 สีหลัก คือ พื้นหน้าปัดสีขาว (จริงๆ แล้วคือสีเงิน) และ sub-dial กับ tachymeter scale สีดำ (จริงๆ แล้วคือสีเทาอมน้ำเงินเช้ม) และมีไฮไลท์สีแดงที่บริเวณปลายเข็มจับเวลาเท่านั้น ซึ่งการออกแบบนี้ให้ความ monochromatic โดยรวม และสีแดงที่ปลายเข็มจับเวลานั้นสร้างจุดสนใจบนหน้าปัด และยังช่วยให้อ่านค่าได้อย่างชัดเจนเป็นอย่างมาก

สัดส่วนสำคัญที่ผมหมายถึงคือ ขนาดเคสที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 41มม แต่ระยะ lug-to-lug เพียง 46มม ซึ่งถ้ามองจากรูปจะเห็นว่าส่วน lug ของนาฬิกาเรือนนี้นั้นสั้นมากทำให้ผมคิดว่ามันสามารถอยู่บนข้อมือผมได้โดยที่มองแล้วขัดสายตา และอีกส่วนที่สำคัญคือความหนาเพียง 14.5มม ซึ่งถือว่าบางกว่านาฬิกาจับเวลาโดยทั่วไป (ไม่นับระบบ quartz) ณ เวลานั้นผมยังไม่เคยได้มีโอกาสได้ลองทาบบนข้อมือผมจริงๆ เลยสักครั้ง แต่ด้วยประสบการณ์และความเข้าใจจากตัวเลขระยะทั้งหมด ผมก็มีความหวังว่าผมน่าจะใส่นาฬิกาเรือนนี้เหมาะสมกับขนาดข้อมือ 6.5 นิ้ว และน่าจะใส่สบายด้วย

The Successor of an icon Ref.6139

หลังจากนั้น ผมจึงเริ่มค้นข้อมูลต่อไป ว่านาฬิกาเรือนนี้คือรุ่นอะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เลยทำให้ผมได้ทราบถึงความเชื่อมโยงกันระหว่าง Ref.6138 ที่ผมชอบในหน้าตา กับ Ref.6139 ที่ผมชื่นชมในประวัติศาสตร์ความสำเร็จของกลไก และยิ่งได้ทราบว่า 6138 เป็นเครื่องที่ทาง Seiko พัฒนาต่อยอดได้ดียิ่งกว่า 6139 เลยยิ่งทำให้ผมชื่นชอบมากขึ้นไปอีก

Seiko Ref.6139 มีช่วงระยะเวลาที่ทำการตลาดทั้งหมด 10 ปี ตั้งแต่ปี 1969-1979 แต่หลังจาก รุ่น 6139 เริ่มผลิตได้เพียง 1 ปี ทาง Seiko ก็ได้ส่งรุ่น 6138 ตามออกมาทันที โดยที่ Ref.6138 มีช่วงระยะเวลาอยู่บนสายการผลิตทั้งหมด 9 ปี ตั้งแต่ปี 1970-1979 ภายในเก้าปีนั้นทาง Seiko ได้ผลิตรุ่นย่อยของ 6138 ออกมาถึง 10 รุ่นย่อย แน่นอน 6138-8020 “Panda” ก็เป็นหนึ่งในนั้น

อันที่รู้กันว่านักสะสม และคนที่ชื่นชอบในนาฬิกา Seiko มักจะมีชื่อเล่นให้กับนาฬิกา Seiko รุ่นต่างๆ ในซีรีส์ 6138 ก็มีชื่อเล่นสำหรับ รุ่นย่อยทุกๆ รุ่นเช่นกัน

หลังจากที่ผมไล่ตามดูรุ่นย่อยทั้งหมด มีเพียง Ref.6138-8020 เท่านั้นที่ผมถูกชะตาด้วย อาจจะเป็นเพราะรุ่นย่อยอื่นๆ มีเคสมีเป็นลักษณะเหลี่ยมมุมชัดเจน และยังมีสีสันต่างๆ ที่ยังไม่ได้ถูกใจผมเท่าที่ควร แต่ก็เป็นข้อดีของความหลากหลาย และมีตัวเลือกให้เหล่านักสะสมที่ก็มีความชอบที่แตกต่างกัน น่าจะต้องถูกใจเข้าซักรุ่นย่อยล่ะกัน

บทสรุป สำหรับตอนที่ 1

และนี่ก็คือที่มา และเหตุผลทั้งหมดที่ผมชื่นชอบนาฬิกาเรือนนี้ ก็หวังว่าสิ่งที่ผมเล่าให้ทุกคนฟัง จะมีบางส่วน บางตอนที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนบ้างไม่มากก็น้อย ในบทที่ 2 ผมจะพูดถึงขั้นตอนต่อมา จากที่เราชื่นชอบ ก็ถึงเวลาค้นหา ซึ่งผมใช้เวลาทั้งหมด 2 ปี (จากปี 2022 ที่เริ่มสนใจ จนมาได้ซื้อในปี 2024) ในระยะเวลาสองปีนั้น มีอะไรเกิดขึ้นกับผมบ้าง รอติดตามในตอนต่อไปครับ

Hands-on with A. Lange & Söhne 1815 34mm

A bit smaller than my expectation but wear beautifully & comfortably. Of course, impressive craftmanship, material quality, and a more robust movement with 72 hours of Power Reserve

Introduction

From Watches & Wonder 2025 and my previous article on “Hi-light of Novelties 2025”, I have my eyes on A. Lange & Söhne 1815 34mm. During the week of W&W, I wish I could have a chance to experience it in a metal. On that day, I even texted to the A. Lange AD asking when they are going to have this model in Bangkok. Sadly, no one replied.

Just this past weekend, I made an appointment to join an exclusive event; “Celebrating 20 Years of MB&F Creativity” by PMT The Hour Glass. I arrived at Siam Paragon a bit early. So I decided to stop by at A. Lange Boutique to check with them in person when the 1815 will be available.

Surprisingly, they have both White Gold & Rose Gold sitting on the display in front of me.

My thoughts

At the first glance, I told myself, “they are even smaller than I thought” but yet they are stunningly beautiful. While the boutique staff was explaining the story and technical specifications, I have to admit that my focus was only on the 2 beautiful watches in front of me. Until I couldn’t resist and asked to put it on my wrist.

A “White Gold” 1815 34mm on my wrist. It looks very modern, isn’t it?

I picked the White Gold first (because I like the Rose Gold more and I want to keep the best for last). This example comes with a blue alligator strap which I think it matches with the blue dial perfectly (the hands are also in White Gold). The all polished case makes this watch very shinny and gives a very dressy modern & sophisticated look.

I would like to emphasis on the dial. It is a matte darker tone blue (very classic blue tonality in my opinion) with a printed numeral hours markers and rail-road minutes track. Even though they are printed, they’ve done it in a high quality; very crisp and enough three-dimensional depth, which make a overall character of the watch so elegant.

A “Rose Gold” gives a very classy look.

Then I put the Rose Gold with a brown alligator strap on. The Rose Gold and brown tone make it very vintage look. I can imagine wearing this one with a classic menswear attire just perfectly fine. Same model but two different precious metals create a very distinguish characters.

Only 6.4mm case tall. Impressive!!

Finally, wearability, at first 10-20 seconds, I had a question in my head that “Is this 34mm case size too small?” and then that question was gone. Afterward, the more I looked while I roll my wrist around the more I like this case size. It suits well on my 6.5 inch wrist. In additional, I would say it wears comfortably. I dare to say that I can wear it all day long without even feel it on my wrist. Of course they were made from gold, they have some helft but with only 6.4mm tall it can comfortably sit on my wrist and easily disappear under a shirt cuff.

Side-by-Side Comparison: 34mm VS 38.5mm. What do you guys think?


While we were talking about the case size, the boutique staffs are kind enough to bring the current 1815 model which has case size of 38.5mm for a side-by-side comparison. As you can see from the photos, the difference is quite obvious. The bigger 1815, for me, is too big for a dress watch. It wears more like a sport or casual look.

A bigger brother on my wrist.

With its smaller case, it came with a new hand wound calibre L152.1 which has diameter of 28.1 mm by 2.9mm tall BUT even longer Power Reserve of 72 hours than the older 1815 siblings. The new model has a more tactile “Winding” mechanism. I was winding both a current model and a new one for comparison. The current model is very smooth (just like my Reverso). On the other hand, the new model is very snappy and has very crisp clicky sound. I think the winding characteristic is very important for “Hand-winding” watches where the owners frequently interact with the movement more than “Automatic” watches.

The photo CANNOT tell much. A.Lange’s movement, all can really appreciate it in the macro level.

Special Thanks to…

Lastly, I would like to thank A.Lange’s staffs who are very friendly and informative. They made the whole experience casually pleasing without any pressure. Anyone who would like to purchase these 1815 (not sure about other models) just put down a 30% deposit (their price is THB 910,000 incl VAT for both white & rose gold) and the watch will be ready for you in 3-month period. They also informed me that they have a special promotion from today until end of May 2025 any purchase is eligible for a bespoke watch strap from Japanese artisan.

My Last Words

With this price tag, it would take some time for me to consider buying one into my collection. All in all, this is a very good surprised release from A. Lange & Söhne from its smaller size and new robust movement. I’m totally in love with it. However, I wish they could give a higher balance frequency to 4.0 Hz and a quick release for strap changing would be nice. And I can’t help but wonder what it would be like if they release the 1815 with a 35mm case size just like my Nomos Tangente.

Let’s enjoy the watches that we already have for now.

For now, I will keep wearing and enjoy my Tangente until that day will come.

Watches and Wonder Geneva 1 – 7 April 2025

Hi-light of Novelties 2025: these are the new released watches in the W&W 2025 which I found they’re caught my intention. They are alphabetically listed as follow:

Grand Seiko

The U.F.A. SLGB001 & SLGB003 as parts of EVOLUTION 9 Collection

Courtesy to Fratello
  • SLGB001 – Platinum case with Alligator Strap limited ONLY 80 pieces 
  • SLGB003 – High Intensity Titanium Case & Bracelet 
Courtesy to Hodinkee
  • Both of them have 37mm diameter by 11.4mm and 100m of water resistance 
  • Nice finishing / attention to detail/ Pretty dials (of course inspired by the nature near the Shinshu Watch Studio) 
  • This is “The most accurate watch in the world powered by a mainspring” 
  • GS released the VFA – Very Fine Adjusted movement in 1969 which was ±1 minute per month
  • 56 years later, the new 9RB2 Caliber – the Ultra Fine Accuracy (UFA) – is 36 times more accurate. 
Courtesy to Hodinkee
  • These UFA 37mm come with new accuracy record; ±20 seconds per year (yes, per year) and new bracelet with, for the first time, a micro adjustment 
  • This newly introduced three-step micro-adjust gives the new High-Intensity Titanium bracelet an extra 6mm of total flexibility. 
  • With a very compact caliber 30mm by 5.02mm size, the movement has a solid 72-hour power reserve (on par with modern watches these days)  
  • This might be a good sign for the near future that GS will apply this new movement to the other cases with more variations of their pretty dials
  • Also I hope that GS will apply the upcoming models with the new bracelet with micro adjustment 

Chopard

L.U.C. Quattro Spirit 25 Straw Marquetry Edition

L.U.C. = Louis-Ulysse Chopard; the founder of Chopard

  • L.U.C. Quattro Spirit 25 Straw Marquetry Edition ( is a new metier d’’arts model)
  • This watch with a verdant green dial features traditional straw marquetry applied in a supremely elegant and creative way.
    • Revolution Watch provides a very informative article on “Marquetry” techniques 
    • What makes this dial so special is that the straw marquetry artisan carefully selects rye straw grown in the French region of Burgundy and carefully dyed in a beautiful shade of green. Each strand is individually split with a fingernail, before being flattened with pliers. The straw is then cut into tiny hexagons using a scalpel, which are glued onto a base in ethical rose gold to form an interlocking pattern.
  • This is another iteration of L.U.C. Quattro Spirit 25 family
    • Previous one was released in W&W 2024 LE in white gold with a black enamel dial with ONLY 100 pieces
  • Same case diameter 40mm x 10.3mm thick with jumping hour (on a large display at six o’clock)
  • this model has ethical 18K rose gold case and Central gilded Dauphine fusée minutes hand
  • Movement is the L.U.C. 98-06-L; hand-wound ticks at 4 Hz and proudly carries the Hallmark of Geneva 
  • L.U.C. Quattro contains four barrels (double stacking) with massive power reserve of 192 hours (9 days)
  • ONLY 8 pieces limited edition

L.U.C. Quattro Mark IV Platinum & Rose gold

  • What I love about this watch are the case shape and the hands. Also the clean dial without the date window instead it combines analog date display with small seconds hand at six o’clock
  • The markers called “Herringbone-type hour-markers”
  • Dauphine fusée hours and minutes hands
  • Celebrates 25 years of Chopard Quattro technology after launch of the first L.U.C. Quattro timepiece in 2000 
  • 39mm x 10.4mm rose gold or platinum case adopts an updated L.U.C bassiné shape case; meaning its base is narrower than its domed, polished bezel.  
  • New Caliber 98.09-L 
  • Two sets of double-stacked barrels (1.885 meters of mainspring) delivering 9 days of chronometric precision
Two sets of double-stacked barrels beautifully arranged
  • Like its predecessor, the caliber features a “swan’s neck regulator” for fine adjustment and uses a “Phillips terminal curve hairspring” to optimize precision.
  • Platinum case with an sky-blue with frosted texture dial
The “Bee” Symbol between the lug
  • Rose gold case with a galvantic/galvanized deep blue with frosted textured dial

Alpine Eagle 41 XP CS Platinum

  • The Alpine Eagle Collection debuted in 2019
  • The ultra thin L.U.C 96.42-L movement equipped with a 950 platinum micro-rotor. 4 Hz 65 Hours Power Reserve 
  • Two stacked barrels – Chopard Twin technology (but not Quattro which has 192 hours of power reserve) 
  • Poinçon de Genève quality hallmark
  • Bridges adorned with a Côtes de Genève motif
  • Annular balance / Swan’s-neck index-assembly / Balance-spring with Phillips terminal curve
  • CS = central seconds display
  • The dial is a very special shade of Ice-blue with the gradient and radiating pattern inspired by the iris of an eagle.
“Shade of Ice” Blue dial with Radiating Pattern
  • The bracelet has a design that can express the watch elegance and robustness at the same time
    • It’s a platinum bracelet featuring satin-brushed links with polished central caps, secured by a triple-folding clasp with safety pushers in platinum and blades in ethical white gold.
  • Another dressy integrated bracelet sport watch (Water Resistance of 100m) that I love and I put at the same level of RO, Nautilus, Oversea, 222, and so on.
One of the my most favourite bracelets & the “Bee” symbol
  • What so special about ‘Platinum’
    • Between 40% and 60% denser than gold
    • It’s highly resistant to corrosion and abrasion
    • Rare 30 times more so than gold
    • Exceptional durability so that it may be passed down through generations 
    • Its extraordinary qualities nonetheless require special skills and the use of specific tools to machine it.
    • It’s totally hypoallergenic metal and renowned for its unalterable lustre
  • Why ‘Bee’ symbol?
    • Since the time of Louis-Ulysse Chopard in the 19th century, this insect has been one of the emblems of the Manufacture. Industrious, honest and modest, the lynchpin of a cohesive whole held together by collaborative endeavours, it perfectly embodies the values with which the workshops have never ceased to identify.
    • All Chopard watches in Platinum case are having a signature ‘Bee’ symbol hand engraved on the case
    • From https://www.timekeepers.club/articles/novelties/chopard-alpine-eagle-41-xp-cs-platinum
  • Material is 950/1000 platinum
  • Diameter 41mm x 8mm tall

Cartier

CARTIER TANK À GUICHETS

  • This model is part of CARTIER PRIVÉ Collection 
  • Very surprised because I never thought Cartier would reissue this model. Original was released in 1928 and then Cartier reissued again in 1997 as 150th Anniversary (1847-1997) with only 150 pieces limited edition. 
    • The 150th Anniversary model has a crown at 3 o’clock which is different from the original where the crown at 12 o’clock
  • Then 28 years later…
  • Platinum with a Red numeral 
The “Red” numeral represents the Red cabochon for Platinum case
  • Yellow Gold with a Green numeral
See the green numeral?
  • Rose Gold with a Gray numeral 
  • Oblique : Limited Edition 200 pieces 
  • Jumping hour and dragging minute 
  • Calibre 9755 MC manual winding 42 Hours Power Reserve 
  • Dimension: 37mm lug-to-lug x 24.8mm width x 6mm tall 
  • Will be available in September 2025


Santos in small size close to vintage Galbee

  • I hope it has the same size as one of the small Cartier Santos Galbée ref.1564 which I wore once and really really loved that size
  • Cartier Santos Galbée ref.1564 
    • Dimension 41mm lug-to-lug x 29mm across
Cartier Santos Galbée ref.1564 from 2005
  • I’m very surprised why there is no coverage on this model. ONLY people taking about it but no dedicated contents about this model yet
  • It will be available in June 2025
  • There will be in 3 metals; Yellow Gold / Gold & Steel Two tone / Steel 
  • Dimension: 34.5mm lug-to-lug x 27mm across x 7mm tall 
  • It will come with a leather strap with pin buckle with a matched material 
  • A very down side is all of them have a “high autonomy” quartz movement 
  • No “easy link” but still have a quick release/switch system for the bracelet 
  • 3 bar of water resistance 

A. Lange & Söhne

1815 34mm

Courtesy to https://www.alange-soehne.com
  • From my love of Lange 1 but a bit of hesitation after discussed with watch friends and he mentioned about the maintenance and service of its complicated movement.
  • Also the size of current (modern) Lange 1 which is 38.5mm, I prefer a smaller size for the rounded and thin bezel watch like this.
  • Then I started to turn my interest to the “Saxonia” model which is less complication and more symmetrical dial.
  • Saxonia was first introduced in 1994 and over the 31 years they have a ranging sizes from 34mms to 40mms. (from langepedia.com)
  • The current Saxonia Collections; “Saxonia Thin 37mm”, “Saxonia Outsize Date 38.5mm”, and “Saxonia Moon Phase 40mm” have a ranging sizes from 37mms to 40mms.
  • My preference is 34-35mm which can only find in their vintage or discontinued model only.
  • Then this 1815 model surprisingly popped up in 2025 Watches & Wonder in a perfect size of 34mm and the thickness (or thinness) of 6.4mm 
  • It’s a time only with small seconds. Perfect Symmetrical dial!!
  • The reason that A.Lange can go with smaller size is because they’ve come up with the new caliber L152.1 [dia 28.1mm thickness 2.9mm 72 power res. 21,600 VpH]
Courtesy to https://www.alange-soehne.com
  • So simple / So elegant / So classy / So well balanced & proportions
  • No Steel case Only in White Gold or Rose Gold with a very handsome shade of dark blue
  • I saw many watch YouTubers “on wrist” shots and they are all look great on their wrist.

Odysseus HONEYGOLD Limited 100 pieces

Courtesy to https://www.hodinkee.com
  • Odysseus has been one of my favourite model from A.Lange with the same design language as the Zeitwerk.
  • With its signature “Outside Date” windows, Odysseus is different from Zeitwerk by Day & Date instead of Hours & Minutes 
Courtesy to https://www.hodinkee.com
  • Odysseus is a “Integrated Sport” Model from A.Lange
  • From my memory, the previous Odysseus were available in Steel, Titanium, and White Gold which give a cold tone and modern looking vibe
  • BUT this 18-carat “HONEYGOLD” case and bracelet give a special warm tone of the rose gold shade case and chocolate brown dial  
  • Most of the case and bracelet are brushed with polished on the smooth bezel and bevellings
  • It has a 40.5mm diameter 11.1mm thickness Movement L155.1 in 4 Hz Self-winding 50 hours reserve
  • Every time I look at it, I really like it
  • This is something that I know I have a very small chance to own this “super hard to get” watch BUT I still very admired it.

My Perfect Dress Shirt by Ascot Chang

In April this year 2024, Decorum Bangkok held a Trunk Show by Ascot Chang. My intention for this year was to focus more on the Bespoke and MTM piece rather than the RTW items.

Therefore I decided to commission a dress shirt with Ascot Chang with some preferences in mind as follow:

  • A Dress/Formal Shirt
  • Vintage cloth in Ascot Chang archives
  • Spread Collar with a wider and pointer shape
  • Snugged barrel cuff which I prefer my right cuff a bit wider for my wrist watch
  • Initial embroidery

After measurement and cloth/details selection about 1.5 month, I got the 1st fitting in June with a completely finished shirt. Even though the program that I commissioned was called MTM Program but the way the AC staff measured my body is very much a Bespoke process and from the 1st fitting I can definitely say that this is a Bespoke Shirt (also a staff at Decorum supported my idea).

From my 1st fitting, there were some adjustments on my shoulder and on my back to make the shirt a cleaner look (to eliminate the excess fabric). The rest of the shirt i.e. the length of the sleeve, the fit around my neck, cuff, chest were perfect!!

Then the final shirt arrived in the beginning of September (after about 4 months). My experience with this shirt was so impressive as you guys can guess from the title. I would like to summarized as below:

  • Collar: the shape is perfect as I expected and the most important thing is that it’s very soft but it beautifully roll and maintain its shape all day long for both buttoned with tie all day long and an open collar look.
  • Cuff: as my preference that I like a snugged fit and I wanted my right cuff a bit wider to make room for my wrist watch, it turned out perfectly without any crease or discomfort which I experience from other tailor.
  • Fitting: my really love the silhouette of this shirt which hardly to explain why. What I can say is that it make me look slim and very elegant. And it’s very comfortable for both when I stay still and moving especially when I raise my arms the shirt still stay tucked in nicely.
  • Fabric: I chose a pale blue with a white micro stripe which has a subtle detail on the white strip like a stitching or some kind of weaving technique when you look closely it’s really elevate the look of the shirt
  • Details: Every detail of this shirt is very delicate and when to see and touch it reflects a high craftsmanship i.e. buttons, button holes, all stitching, side seams and even the initial embroidery is very crisp.

All in all I am so impressed with this shirt and if I have a chance, I wouldn’t think twice to commission more.

In someday, we might want to wear a very nice shirt for rewarding ourself for what we have achieved or make us feel more confident for a special day. Ascot Chang shirt is that kind of shirt for that kind of days.

An unexpected Nomos

Nomos has been my favorite watch brand from Glashütte
Germany with its heritage, manufacturing almost 100% in-house, and Bauhaus design language.

My love at first sight with Nomos is their Sport Collection; “Club” and their Contemporary Collection; “Orion” and “Zürich” instead of their Classic Collection; “Tangente” and “Lugwig” which contains all of the Nomos signature design element i.e. straight & slim lug, perfect circle case, original fonts, etc.

However, because of its famous “long lug” that always stopped me to get one into my collection.

Just recently, I had a chance to see and touch Tangente in the metal for the first time. I told myself that it’s very outstanding from the others siblings. Once I put it on my wrist, all the feeling that I afraid of the lug, the boring round case, and a very simple dial was disappeared.

This watch put a big smile on my face and I knew in the sudden this is the Nomos that I’ve been searching for a long long time. Sometime boring and simple designs are not the bad things and you have to really see the watch up close in the metal and put it on your wrist to really understand and to know exactly what you feel with that watch. The same way that I experienced with this Nomos Tangente 38mm.

Rolex Story: A Full-Circle of In-house Watch Maker

กลับมาอีกครั้งนะครับ หลังจากหายไปนานจากการเขียน blog ทั้งเรื่องของการแต่งตัว และนาฬิกา

เนื่องจากผมมีโอกาสได้อ่านบทความที่เกี่ยวกับนาฬิกาแบรนด์นึง ที่ผมคิดว่าทุกคนคงรู้จักกันดี นั่นก็คือนาฬิกา Rolex นั่นเองนะครับ และจากการที่ผมได้มีโอกาส เป็นเจ้าของและใช้งานนาฬิกาแบรนด์นี้ มาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537) ทำให้ผมมีความชื่นชม และไว้วางใจกับนาฬิกา Rolex เป็นอย่างมาก

ผมคิดว่าเพื่อนๆ ทุกคนคงพอจะทราบข้อมูลพื้นฐานของนาฬิกาแบรนด์นี้กันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา รุ่น Iconic ต่างๆ และในเรื่องของคุณภาพของวัสดุ ความเที่ยงตรงและความทนทานของกลไกขับเคลื่อน

แต่ผมคิดว่าเพื่อนๆ หลายๆคนคงยังไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว นาฬิกา Rolex มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร ที่ว่าทำทุกอย่าง in-house นั้น รายละเอียดจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร แต่ที่รู้กันแน่ๆ คือว่าผลิตในประเทศสวิสฯ ^_^

ดังนั้นวันนี้ผมอยากขอถือโอกาสนี้ แบ่งปันข้อมูลที่ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ จากที่ผมได้อ่านบทความ “Geography of Excellence” ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร “The Rolex Magazine issue#11”

ขอเริ่มกันเลยนะครับ

อย่างที่ผมเกริ่นนำไปว่า เพื่อนๆ ทุกคน คงจะทราบกันดีว่า Rolex is Swiss Made และคงพอจะเดากันได้ว่า น่าจะอยู่ในเมือง Geneva ซึ่งก็ถูกต้องครับ เพราะสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Geneva แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งเมืองที่เกี่ยวข้องคือเมือง Bienne (ออกเสียงว่า “เบียน”)

จากที่ทุกคนได้ทราบข้อมูลมาว่า Rolex ออกแบบ พัฒนา ผลิตชิ้นส่วน ประกอบ ทดสอบ และตรวจสอบคุณภาพ ทุกขั้นตอนภายใต้โรงงานของ Rolex เองทั้งหมด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 โลเคชั่นหลักๆ ที่น่าสนใจมากคือ นาฬิกาทุกเรือนจะเดินทางเป็นวัฏจักรดังนี้ครับ

  • Geneva – Les Acacias I: Creators of Design 
  • Plan-les-Ouates (ออกเสียงว่า พล็อง-เล-ว็อท): Masters of Materials
  • Bienne (ออกเสียงว่า เบียน): Artisans of Movement
  • Chêne-Bourg (ออกเสียงว่า เชน-เบิร์ก): Alchemists of Beauty
  • Geneva – Les Acacias II: Custodians of the Seal

โดยทาง Rolex จะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละโลเคชั่น ดังนี้

Photo credit: www.rolexmagazine.com
  • CREATORS OF DESIGN: จุดกำเนิด การวิจัยและพัฒนาต้นแบบ และงานออกแบบ อยู่ที่ Geneva – Les Acacias I
    • ณ ที่ตั้งอาคาร Rolex ใน Acacias แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ อันเป็นที่ทำงานของ ผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายบริหาร และรวมไปถึง เวิร์คช็อปสำหรับการประกอบชิ้นส่วนนาฬิกาในขั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งศูนย์ทดสอบ Superlative Control Testing อีกด้วย (ผมจะขอกลับมาอธิบายละเอียดอีกครั้ง ในหัวข้อ Geneva – Les Acacias II)
    • สำหรับขั้นตอนแรกของการผลิตนาฬิกา ทีมงานที่สำคัญที่อยู่ ณ สำนักงานแห่งนี้คือ ทีมงานวิจัย และพัฒนา และ ทีมงานออกแบบ
    • โดยที่ไอเดียสำหรับการผลิตนาฬิการุ่นใหม่ๆ ของ Rolex นั้น อาจจะใช้เวลาในการพัฒนานานหลายปี โดยเป็นการทดลอง และทดสอบไอเดียกัน ระหว่างทีมงานนักวิจัยฯ​ และทีมออกแบบ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของศาสตร์ต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น นักเคมี นักวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ นักวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง นักสถิติ รวมไปถึง นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ จนสามารถพัฒนาการไปถึงการผลิตนาฬิกาต้นแบบ
    • หลังจากได้นาฬิกาต้นแบบออกมา ผ่านการปรับแบบในแง่ของการออกแบบ จนถูกพัฒนาไปจนถึงการผลิตนาฬิกาต้นแบบที่ทำงานได้จริง (functioning prototypes) ซึ่งหลังจากนี้จะถูกนำไปทดสอบการทำงาน และความอึด ถึก ทน ตามคุณสมบัติเฉพาะตัวของนาฬิกา Rolex
    • โดยการทดสอบดังกล่าว จะมีการจำลองลักษณะการเคลื่อนไหว และการใช้งานของมนุษย์จริงๆ เช่น การทดสอบการทนการกระแทก (shock resistance) ผ่านการจำลองเหตุการณ์มากกว่า 20 รูปแบบ การจำลองการใช้งานผ่านกาลเวลา (aging and mechanical wear and tear) โดยที่ทาง Rolex ได้มีการใช้หุ่นยนต์ และเครื่องทดสอบที่ออกแบบ เพื่อใช้กับทาง Rolex โดยเฉพาะ ซึ่งหุ่นยนต์และเครื่องทดสอบดังกล่าว สามารถจำลองการใช้งานนาฬิกา 1 ปี ด้วยการใช้เวลาเพียง 2 วันครึ่งเท่านั้น
    • เราจะเห็นได้ว่า Rolex ให้ความสำคัญกับการทำงานของกลไกให้ทนทานในระยะเวลาอันยาวนาน ผ่านการทดสอบอันหนักหน่วง ด้วยเหตุนี้ นาฬิการุ่นใหม่ของ Rolex ทุกเรือนจึงใช้เวลาพัฒนาที่ยาวนานเพื่อให้แน่ใจว่า นาฬิกาต้นแบบนั้นพร้อมที่จะส่งต่อไปยังขั้นตอนการผลิตจริงต่อไป
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • MASTERS OF MATERIALS: ปรมาจารย์ด้านวัสดุ และคลังนิรภัยเก็บโลหะมีค่าใต้ดินที่ Plan – les – Ouates (ออกเสียงว่า พล็อง-เล-ว็อท)
    • เนื่องจากที่ทำการแห่งนี้ต้องมีการจัดเก็บวัสดุ และโลหะมีค่าประเภท ทองคำ จำนวนมากเพื่อใช้ในการผลิตตัวเรือน และสายนาฬิกา ผมเลยอยากขอพูดถึงตัวอาคาร และระบบจัดการในแง่ของตัวเลขที่น่าสนใจในอาคารแห่งนี้ก่อนนะครับ
  • อาคารมีชั้นเหนือดินจำนวน 5 ชั้น และยังมีชั้นใต้ดินทั้งหมดอีก 5 ชั้น
  • รวบรวมวัสดุประเภทต่างๆ ประมาณ 500,000 ชนิด โดยมีช่องจัดเก็บมากกว่า 60,000 ช่อง
  • โดยช่องจัดเก็บดังกล่าวจะถูกแบ่งแยกไว้เป็น 2 ส่วน อย่างละเท่าๆ กัน เพื่อหากเกิดเหตุฉุกเฉินในส่วนหนึ่ง ก็ยังมีอีกส่วนสามารถทำงานต่อเนื่องได้โดยไม่สะดุด (redundancy)
  • พื้นที่โดยรวมของชั้นใต้ดินทั้งหมดเทียบได้กับ สระว่ายน้ำมาตราฐานโอลิมปิกจำนวน 10 สระ
  • และระบบจัดเก็บ และระบบปฏิบัติการทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และแขนกล 100% ไม่ใช่มนุษย์ในการจัดการ
  • น่าทึ่งมั๊ยละครับ กับความอลังการในชั้นใต้ดิน กลับขึ้นมาเหนือดิน อันเป็นสถานที่ทำงานของเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุ ก็อลังการไม่แพ้กัน เพราะทาง Rolex เลือกที่จะติดตั้ง เตาหลอม และโรงหล่อ โลหะทองดำ ทั้ง 3 ประเภท Yellow Gold, White Gold, และ Everose Gold เป็นของตนเอง เพื่อที่จะสามารถควบคุมงานผลิตตัวเรือน และสายนาฬิกา จนกระทั่งชิ้นส่วน บางตัวที่ใช้ในกลไกขับเคลื่อน ตั้งแต่ต้นจนจบ 100%
  • นอกเหนือจากโรงหล่อทองคำแล้ว ก็ยังมีเครื่องจักรที่ออกแบบโดยเฉพาะเพื่อให้ทาง Rolex ใช้ในการ ตัด ปั๊ม โลหะ Oystersteel อันเป็นโลหะผสม (Alloy) สูตรเฉพาะที่ทาง Rolex คิดค้นขึ้นโดยมีคุณสมบัติในการทนต่อกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ ออกมาเป็น ตัวเรือน และชิ้นส่วนของสายนาฬิกาต่อไป
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • หลังจากที่ได้ชิ้นส่วนดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ขั้นตอนสำคัญที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ งานขัดแต่ง โดยงานขัดเงาแบบ mirror effect จะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการ ที่ผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝนสายตามาอย่างยาวนาน เพื่อให้ได้ความเงางาม และแสงสะท้อนที่สมบูรณ์ที่สุด รวมไปถึงการตรวจสอบส่วนเวาส่วนโค้งทั้งหมดของตัวเรือน เพื่อเป็นการการันตีว่าผู้ใช้งาน สามารถใส่นาฬิกาได้อย่างสบายข้อมือมากที่สุด โดยทั้งหมดนี้ ยังรวมไปถึงการขัดแต่งชิ้นส่วนในกลไกขับเคลื่อนนาฬิกาอีกด้วย
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • ARTISANS OF MOVEMENT: ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะกลไกแห่งเวลา ณ Bienne (อ่านเสียงว่า เบียน)
  • Rolex ตั้งใจให้ที่ทำการแห่งนี้มีไว้สำหรับงานในส่วนของการประกอบกลไกขับเคลื่อนนาฬิกาทั้งหมด โดยห้องทำงานได้ถูกแบบให้รับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด และอากาศในห้องจะผ่านเครื่องกรองอากาศ และจะถูกมอนิเตอร์ตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีฝุ่น หรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ หลุดเข้าไปได้
  • งานประกอบชิ้นส่วนทั้งหมด ยังเป็นการประกอบด้วยมือของช่าง โดยมีการตรวจสอบทั้งทางสายตา และด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิค ว่ามีชิ้นส่วนใดที่ประกอบขึ้นมาไม่ได้ตามมาตราฐานที่ควรจะเป็น
  • เป็นที่ทราบกันดีว่า Rolex ผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด “In-house” แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า Rolex ได้พัฒนาและคิดค้นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญกับกลไกนาฬิกา เพื่อใช้กับนาฬิกา Rolex โดยเฉพาะ เช่น
    • Perpetual Rotor
    • Chronergy Escapement
    • Paraflex shock absorber
    • Parachrom & Syloxi hairsprings (มีเพียงผู้ผลิตนาฬิกาไม่กี่แบรนด์ในโลกเท่านั้น ที่มีศักยภาพในการผลิต hairspring ได้เอง)
    • Microstella Nuts
    • แม้แต่ น้ำมันหล่อลื่นสำหรับกลไก Rolex ยังคิดค้นสูตรเพื่อใช้สำหรับ Rolex โดยเฉพาะ
  • หลังจากที่ประกอบกลไกเสร็จสมบูรณ์ กลไกดังกล่าวจะถูกส่งไปที่ศูนย์ COSC (Contrôle Officiel Suisse des Chronomètres) หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษคือ Swiss Official Chronometer Testing Institute ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 15 วัน โดยกลไกที่ผ่านการทดสอบนี้ จะมีความคลาดเคลื่อนที่ -4/+6 วินาที ต่อวัน
  • เครื่องกลไกทั้งหมดที่ผ่าน COSC จะถูกนำกลับมาที่สำนักงานที่ Biene อีกครั้งเพื่อทำการตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนจะถูกส่งต่อไปที่ สำนักงานที่ Acacias อีกครั้งเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนประกอบเครื่องเข้ากับตัวเรือน
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • ALCHEMISTS OF BEAUTY: นักปรุงแต่งความงาม แห่งเมือง Chêne-Bourg (ออกเสียงว่า เชน-เบิร์ก)
    • ตอนนี้ทุกคนทราบกันแล้วนะครับว่า ตัวเรือนถูกสร้างขึ้นที่ Plan-les-Ouates หัวใจการขับเคลื่อนเริ่มต้นที่ Bienne และอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญของนาฬิกา ซึ่งก็คือส่วนของหน้าปัด ซึ่งถือว่าเป็นหน้าตาของนาฬิกาเกิดขึ้นที่นี้ เมือง Chêne-Bourg
    • ที่ทำการแห่งนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาคารที่เล็กที่สุด ในทั้งหมด 4 แห่ง แต่ก็ยังใช้เทคโนโลยีแขนกล และสายพาน สำหรับจัดส่งชิ้นส่วนต่างๆ (รวมไปถึงอัญมณีต่างๆ) ให้กับช่างประกอบชิ้นส่วนบนหน้าปัดนาฬิกา
  • ส่วนประกอบต่างๆ ที่เราเห็นกันคุ้นตาบนหน้าปัดนาฬิกา Rolex เกิดขึ้นใน workshop แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์คำว่า “Rolex”, “Oyster Perpetual Officially Certified” หรือ “Superlative Chronometer” และการวางชิ้นส่วน Logo มงกุฎห้าแฉก และหลักชั่วโมง ยังเป็นการวางด้วยมือช่างทั้งหมด
  • ในส่วนของการเล่นลวดลาย การขัดแต่งบนหน้าปัด จะใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อความเที่ยงตรงระดับไมครอน
  • ทุกคนคงพอจะทราบกันดีว่า Rolex มีการใช้วัสดุหลากหลายมากๆ ที่ใช้ในการตกแต่งหน้าปัด เช่น ทองคำ หรือจำพวกวัสดุจากธรรมชาติ เช่น หินสวยงาม หินอุกกาบาต และเปลือกหอยมุก และยังรวมไปถึงอัญมณีต่างๆ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน มรกต ฯลฯ
  • มาถึงจุดนี้ จะไม่พูดถึงการคัดสรรอัญมณีเพื่อนำมาประดับบนนาฬิกา Rolex คงไม่ได้ ทุกคนทราบหรือไม่ว่า บนนาฬิกา Daytona ที่เป็นหน้าปัด Rainbow นั้นใช้ไพลิน 36 ชิ้น ในเฉดสีที่เลือกเฉพาะเจาะจงโดยนักอัญมณีศาสตร์ จากทาง Rolex หลังจากนั้นถึงถูกนำมาจัดเรียงด้วยมือชิ้นต่อชิ้น ด้วยเครื่องมือในการเจียระไน ปรับแต่งเพื่อให้ได้การไล่เฉดสีรุ้งที่สวยงามตามที่เห็น
  • อัญมณีที่ถูกคัดเลือก และส่งมาที่นี่ จะต้องถูกตรวจสอบแหล่งที่มา และความบริสุทธิ์ ความแท้ของวัสดุ และผ่านตามมาตราฐานที่เข้มงวดของทาง Rolex เท่านั้น จึงสามารถส่งต่อขั้นตอนการติดตั้งบนหน้าปัด
  • ที่นี่ยังใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการ สร้างสรรค์สีสันใหม่บนหน้าปัดนาฬิกา โดยมีเหล่า นักเคมี และนักฟิสิกส์ ใช้เทคนิคในการผสมสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเคลือบเงา หรือสีจากโลหะต่างๆ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย Rolex ถือว่าเป็นผู้นำในการผลิตสร้างสรรค์หน้าปัดนาฬิกาแบบใหม่ๆ ในโลก
  • ในส่วนของชั้นใต้ดิน เป็นที่ทำงานในส่วนของการผลิตเซรามิค ที่ทุกคนคุ้นตากันบนขอบ Bezel สองสีของนาฬิกา GMT-Master II ตามที่ทุกคนทราบกันว่า เซรามิค มีคุณสมบัติที่สำคัญคือป้องกันรอยขีดข่วน และมีระดับความแข็งที่สูงมาก และ Rolex เป็นผู้คิดค้นการนำเซรามิค 2 สีมารวมกันอยู่ในวัสดุชิ้นเดียวกันได้ เป็นแบรนด์แรกของโลก
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • CUSTODIANS OF THE SEAL: ปัจฉิมบท กับผู้แลการลงผนึก Green Tag ณ Les Acacias II
    • ขั้นตอนในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ จะอยู่ใน ห้องทำงานที่จัดการ และควบคุมสภาพอากาศให้บริสุทธิ์ตลอดเวลา และยังควบคุมความชื้นให้อยู่ในช่วง 45-50% ตลอดเวลา ทุกคนในห้องจะต้องสวมชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต และใส่ถุงคลุมรองเท้า เพื่อป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้ามาในห้องทำงาน และที่แย่ที่สุดคือเข้าไปอยู่ในตัวเรือนนาฬิกา
  • การประกอบตัวเรือน การติดตั้งเข็มลงบนหน้าปัด และการใส่กลไกเข้าไปในตัวเรือน ทั้งหมดนี้ยังคงทำด้วยมือช่างนาฬิกาทั้งหมด และในแต่ละขั้นตอนยังคงต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งการทำงาน และความสวยงาม ผ่านตามมาตราฐานของทาง Rolex
  • หลังจากประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว นาฬิกาทุกเรือนจะถูกส่งต่อไปยัง ศูนย์ทดสอบ Superlative Control ซึ่งตั้งอยู่ชั้นใต้ดินของอาคารที่ Acacias แห่งนี้ โดยการทดสอบจะคลอบคลุมถึง ความเที่ยงตรงของกลไก การกันน้ำ ระบบการขึ้นลานอัตโนมัติ และการสะสมพลังงาน
  • การทดสอบทั้งหมดจะใช้เครื่องจักรอัตโนมัติทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าขั้นตอนทั้งหมดนั้น ถูกดำเนินการอย่างถูกต้องทั้งหมด
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • โดยการทดสอบความเที่ยงตรงของกลไก ระบบการขึ้นลานฯ และการสะสมพลังงาน จะทำผ่านเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อจำลองสภาวะการใส่ใช้งานของมนุษย์จริงๆ ตามสภาพต่าง โดยจะแบ่งเป็น position ที่ต่างกัน 7 รูปแบบ และแต่ละรูปแบบจะมีการทดสอบเคลื่อนไหวแบบหมุน เหวี่ยงอีกด้วย การทดสอบเช่นนี้ เพื่อให้แน่ใจว่านาฬิกายังสามารถเดินได้เที่ยงตรงไม่ว่าจะถูกสวมใส่ด้วยผู้ใช้งานทุกรูปแบบใดก็ตาม และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นได้คือ -2/+2 วินาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่สูงกว่า COSC อย่างมาก
  • ในส่วนของการทดสอบการกันน้ำ ทุกคนคงพอจะทราบกันดีว่า Rolex เป็นผู้นำในการคิดค้น ตัวเรือนกันน้ำ Oyster case และระบบขันเกลียวเม็ดมะยม Twinlock / Triplock และ Ringlock System โดยการทดสอบจะทำให้ ถังควบคุมแรงดันน้ำ (Hyperbaric Tank) โดยจะแบ่งการทดสอบ โดยเพิ่มแรงดันน้ำให้สูงกว่าค่าระดับที่ระบุในสเปค ตามนี้ครับ
    • นาฬิกากันน้ำระดับ 100 เมตร จะทดสอบที่แรงดันสูงกว่าที่ระบุ 10%
    • นาฬิกากันน้ำระดับ 300 เมตร 1,220 เมตร 3,900 เมตร และ 11,000 เมตร จะทดสอบที่แรงดันสูงกว่าที่ระบุ 25%
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • นาฬิกา Rolex ทุกเรือนจะต้องผ่านการทดสอบ Superlative Control เพื่อให้ได้รับตรา Superlative Chronometer บนหน้าปัดนาฬิกาทุกเรือน และหลังจากที่ตัวเรือนได้ถูกประกอบเข้ากับสายนาฬิกา จึงจะได้รับ ตราผนึกสีเขียว (Green Seal) และการรับประกันทั่วโลกเป็นเวลา 5 ปี
Photo Credit: www.rolexmagazine.com
  • จากจุดเริ่มต้นที่ Les Acacias ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเรือน กลไก หน้าปัด เข็ม กระจกแซฟไฟร์ และสายนาฬิกา จากที่ต่างๆ จะกลับมารวมกันที่นี้อีกครั้งเพื่อประกอบเข้ารวมเป็นตัวนาฬิกาที่สมบูรณ์ อันถึงเป็นจุดสิ้นสุดของการเดินทาง ก่อนที่จะถูกนำส่งไปยังตัวแทนจำหน่ายต่อไป

เป็นอันจบเรื่องราวเกี่ยวกับวงจรการผลิตนาฬิกา Rolex ไปแล้วนะครับ หวังว่าสิ่งที่ผมเล่าให้เพื่อนๆ ทุกคนในบทความนี้ จะทำให้ทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับนาฬิกายี่ห้อ Rolex กันลึกซึ้งขึ้นไปอีกไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือเห็นต่าง ตรงไหน อย่างไร สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ ทางด้านล่างได้เลยนะครับ ผมยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และหากมีข้อมูลอะไรผิดพลาด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ และฝากสนับสนุนผลงานของผม มาให้กำลังใจกันโดยการกดติดตาม IG: @mickyjickyและ @my.six.point.five.inch.wrist กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

มารู้จักที่มาของนาฬิการหัส W10 กันครับ ว่าทำไมผมถึงหลงรักนาฬิกาทหารจากฝั่งอังกฤษเรือนนี้ ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้ว เราหยุดกันไว้ที่จุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 เราได้รู้จัก “Trench Watch” และ “WWW – Wrist Watch Waterproof” และ “Dirty Dozen” แต่การพัฒนานาฬิกาเพื่อการทหารยังดำเนินต่อไป เนื่องจากยังมีความต้องการอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการทหาร เพื่อเข้าสู่ยุค “สงครามเย็น (Cold War)”

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (Post War Period) จนถึงช่วงยุคสงครามเย็น (Cold War) (ค.ศ. 1947 – 1991 หรือ พ.ศ. 2490 – 2534)

กินระยะเวลายาวนานถึง 44 ปี ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 9

และในช่วงเวลานี้ นี่เองที่เป็นจุดกำเนิดของนาฬิการหัส W10 ยิ่งไปกว่านั้น นาฬิกาที่หลายๆ คนอาจจะพอคุ้นตาอย่าง JLC for RAF (Royal Air Force) และ IWC Mark XI ก็ถือกำเนิดในยุคนี้เช่นเดียวกัน โดยในช่วงทศวรรษ 1960s ทาง MoD (Ministry of Defence) เริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อผลิตนาฬิกาที่ออกแบบโดยกองทัพอังกฤษ และผลิตในประเทศอังกฤษ ซึ่งผู้ผลิตนาฬิกาจากอังกฤษคนนั้น ก็คือ Smiths และนาฬิกาดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า Smiths W10 นั่นเอง

จุดกำเนิด Smiths W10

Smiths คือ กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรม สัญชาติอังกฤษที่ผลิตอุปกรณ์จับเวลาให้กับกองทัพอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1947 ทาง Smiths ยังคงดำเนินการผลิตนาฬิกาต่อมา จนมาเริ่มผลิตนาฬิการุ่น High grade สำหรับพลเรือน ซึ่งผลิตโดยคนอังกฤษ และภายในประเทศอังกฤษทั้งหมดทุกขั้นตอน

ภาพนาฬิกา Smiths W10 รุ่นปี 1968 ผลิตให้กับกองทัพบกอังกฤษ แสดงให้เห็นรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ตามคำอธิบายด้านล่าง (Photo Credit: www.anordain.com)

และอีก 21 ปีต่อมา ในปี 1968 ทางกองทัพอังกฤษ มีนโยบายที่จะออกนาฬิกา W10 ซึ่งเป็นมาตราฐานใหม่ในการออกแบบนาฬิกาทางการทหารของทางฝั่งกองทัพอังกฤษ โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • “White on Black” คือมีพื้นหน้าปัดเป็นสีดำ ส่วนหลักชั่วโมง นาที และเข็มนาฬิกาเป็นสีขาว เพื่อการอ่านค่าเวลาที่ชัดเจนที่สุด
  • หลักชั่วโมงเป็นตัวเลขอารบิก และมีสัญลักษณ์ รูปสามเหลี่ยม ที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา เพื่อใช้เป็นหลักในการอ่านเวลา ว่าปลายสามเหลี่ยมจะต้องชี้ขึ้นเสมอ เพื่อป้องกันการสับสน ระหว่างตำแหน่ง 12 นาฬิกา และ 6 นาฬิกา
  • หลักนาที เป็นรูปแบบ “รางรถไฟ” หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า “Railroad Minute Track”
  • ใช้สารเรืองแสง Tritium บนตัวเข็มชั่วโมง เข็มนาที และหลักชั่วโมง พร้อมด้วยสัญลักษณ์ ตัวอักษร T อยู่ในวงกลม อันเนื่องจาก Tritium เป็นสารกัมมันตรังสี
  • มีการระบุตราสัญลักษณ์ “หัวลูกศร” (Broad Arrow) เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสมบัติของทางกองทัพฯ
  • ต้องสามารถดึงเม็ดมะยม เพื่อหยุดเข็มวินาทีได้ (Hacking Second Hand) สำหรับการ sync เวลาให้ตรงกัน สำหรับภารกิจต่างๆ

ดังนั้นการที่ Smiths ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษแท้ๆ มาผลิตนาฬิกา W10 จึงถือว่าเป็นนาฬิกา W10 รุ่นเดียวที่ผลิตจากบริษัทสัญชาติอังกฤษ และผลิตในประเทศอังกฤษทั้งหมด โดยรุ่นอื่นๆ ของ W10 ที่ตามมาภายหลังนั้น ผลิตออกประเทศอังกฤษทั้งหมด

ด้านหลังตัวเรือนของนาฬิกา Smiths W10 รุ่นปี 1968 แสดงให้เห็นถึงการใช้ Nato Stock Number – NSN ตามคำอธิบายด้านล่าง (Photo Credit: www.anordain.com)

นอกจากนั้น นาฬิกา Smiths W10 ยังถึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้อักษรย่อ “NSN” (Nato Stock Number) ซึ่งเป็นรหัสทางการทหาร ที่ใช้อย่างแพร่หลายกับนาฬิกาในกองทัพอังกฤษ ในช่วงยุค Post War ยกตัวอย่างเช่น W10/6645-99 ซึ่งอ่านค่าได้ว่า

  • 6645 เป็นรหัส NSN สำหรับอุปกรณ์จับเวลา
  • 99 เป็นรหัส NSN เพื่อแสดงถึงประเทศอังกฤษ

จุดกำเนิด Hamilton W10

จนเข้าสู่ช่วงปีทศวรรษที่ 1970s กองทัพสหราชอาณาจักร มีปัญหาทางการเงิน เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทั้งประเทศ สายการผลิตนาฬิกาของ Smiths ต้องหยุดทำการ และได้มีบริษัทใหม่ซึ่งคือ Hamilton มาเริ่มการผลิตนาฬิกา W10 แทนเวอร์ชั่นของ Smiths โดยได้ผลิตออกมาในช่วงปี 1973-1976

นาฬิกา Hamilton W10 รุ่นปี 1975 จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบต่างๆ ไม่ต่างไปจาก Smith W10 ยกเว้นตัวเรือนที่เป็นทรง Tonneau (Photo Credit: www.anordain.com)

โดยที่เวอร์ชั่นของ Hamilton นั้นขับเคลื่อนด้วยกลไก Calibre 649 ซึ่งก็อยู่บนพื้นฐานของเครื่อง ETA 2750 (เครื่องสวิสฯ) พร้อมด้วยกลไกหยุดเข็มวินาที แต่มาในตัวเรือนทรง Tonneau Shaped Case ซึ่งเป็นที่นิยมในยุค 70s โดยตัวเรือนถูกออกแบบให้เป็นชิ้นเดียว (monocoque design) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำ โดยการเข้าถึงกลไกต่างๆ จะต้องทำผ่านการถอดกระจกด้านหน้าเท่านั้น

แต่ยังคงใช้สารเรืองแสง Tritium พร้อมด้วยสัญลักษณ์อักษร T อยู่ในวงกลม โดยสาร Tritium นั้นเป็นสารกัมมันตรังสี ที่เบาบางกว่า Radium เป็นอย่างมากคือมี half-life ที่ 12 ปี (เมื่อเทียบกับ Radium ที่มี half-life ที่ 1,600 ปี) และถึงแม้ว่าเมื่อเสี่ยมสภาพแล้วจะไม่เรืองแสง แต่ Tritium จะเปลี่ยนสีตามกาลเวลาเป็นสีครีม (หรือที่เรียกว่า patina) อันเป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมนาฬิกาวินเทจ

ด้านหลังของนาฬิกา Hamilton W10 รุ่นปี 1975 ผลิดให้กับ กองทัพเรือ จะเห็นได้จากรหัส 0552 ใช้สำหรับ Royal Navy (Photo Credit: www.anordain.com)

โดยที่นาฬิกา Hamilton W10 นี้ถูกส่งให้ใช้กับทั้ง 3 กองทัพ คือ กองทัพบก, เรือ, และอากาศ โดยใช้รหัสแตกต่างกัน คือ

  • W10 ใช้สำหรับกองทัพบก (British Army)
  • 0552 ใช้สำหรับกองทัพเรือ (Royal Navy) แต่มีส่วนหนึ่งเป็นจำนวนไม่มากที่ใช้รหัส 0555 สำหรับ Royal Marines และ/หรือ Royal Navy)
  • 6BB ใช้สำหรับกองทัพอากาศ (Royal Air Force – RAF)

ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1970s ทาง Hamilton ได้รับผลกระทบจากวิกฤต Quartz Crisis ไม่ต่างจากบริษัทผลิตนาฬิกาอื่นๆ และสุดท้ายต้องถูกยกเลิกจากการผลิตนาฬิกาให้กับทางกองทัพฯ

จุดกำเนิด CWC W10

อย่างไรก็ดี ยังมีผู้บริหารของ Hamilton ที่เป็นคนสัญชาติอังกฤษชื่อ Mr. Ray Mellor มองเห็นลู่ทางว่ายังมีความต้องการนาฬิกาทหาร จากทาง Ministry of Defense (MoD) ดังนั้นในช่างเวลาดังกล่าว Mr. Ray Mellor ได้ก่อตั้งบริษัท Cabot Watch Company (CWC) เพื่อสานต่อการผลิตนาฬิกาให้กับทางกองทัพต่อจาก Hamilton

นาฬิกา CWC W10 รุ่นแรก ด้านหน้า (ปี 1976) และ ด้านหลัง (ปี 1977) ที่ส่งให้ทางกองทัพอังกฤษ (Photo Credit: www.anordain.com)

CWC เริ่มผลิตนาฬิกาส่งให้ทางกองทัพอังกฤษตั้งแต่ปี 1976 โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ จากสวิส เหมือนทาง Hamilton ทุกประการ ยกเว้นแค่เปลี่ยนโลโก้เป็น CWC บนหน้าปัดแทน แล้วหลังจากนั้นทาง CWC ก็กลายเป็นผู้ผลิตนาฬิกาหลักให้กับทางกองทัพฯ โดยมีการขยายไลน์การผลิตโดยมี รุ่น G10, มีนาฬิกาจับเวลา (chronograph) และนาฬิกาดำน้ำ จนไปถึงนาฬิกาสำหรับ หน่วยรบพิเศษอีกด้วย

บทสรุป

ก็จบไปแล้วนะครับ สำหรับประวัติ และที่มาของนาฬิกา W10 ที่ผมเชื่อว่า ใครที่ชื่นชอบนาฬิกาแนวทหาร น่าจะต้องรู้จัก หรือไม่ก็คุ้นกับรูปแบบของหน้าตานาฬิกา แต่ไม่ทราบว่ามันคือ W10 และผมหวังว่าข้อมูลที่ผมนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ จะทำให้หลายๆ คนรู้จักนาฬิกาเรือนนี้มากขึ้นนะครับ

ข้อมูลอ้างอิงมาจากบทความ: 100 Years of British Military Watches – Part 2 – anOrdain เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้นะครับ

ขอแถมนิดนึง สำหรับใครที่มีความคิดเหมือนกับผมที่ชื่นชอบ และอยากจะหานาฬิกา W10 มาใส่ และเก็บไว้ในคอลเล็คชั่น แต่ไม่อยากไปตามหาตัววินเทจ หรืออยากใส่โดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการดูแลนาฬิกาวินเทจ ผมขอแนะนำนาฬิกา 2 ยี่ห้อ ที่ผลิตตามรูปแบบเดิมไว้มากที่สุด และเพื่อนๆ ยังหาซื้อโดยตรงจาก Retailer ได้ ณ ปัจจุบัน คือ

เพื่อนๆ สามารถหาซื้อนาฬิกาเรือนนี้ได้จากเว็บไซท์ Hamilton หรือตัวแทนจำหน่ายทั่วไป หรือตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
  • Smiths Military PRS-29A by TIMEFACTORS
    • Case size: 36mm
    • Movement: Sellita SW210 Mechanical
    • Thickness (mm): 11.1
    • Lug width: 18mm
    • Water Resistance: 10ATM/100m/330 feet
สำหรับเรือนนี้จะต้องสั่งจากเว็บไซท์ของ Timefactors ตรงจากทางอังกฤษ โดยต้องเป็นการ pre-order เป็นรอบๆ นะครับ

หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือเห็นต่าง ตรงไหน อย่างไร สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ ทางด้านล่างได้เลยนะครับ ผมยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และหากมีข้อมูลอะไรผิดพลาด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ และฝากสนับสนุนผลงานของผม มาให้กำลังใจกันโดยการกดติดตาม IG: @mickyjicky และ @my.six.point.five.inch.wrist กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ ในโพสถัดไปครับ!!

ทำไมถึงแต่งตัวสไตล์ classic menswear?

หลังจากที่ห่างจากการเขียนบทความลงบนเว็บไซต์ มาสักพักใหญ่ๆ เนื่องจากงานหลักผมที่ทำอยู่นั้น เริ่มกลับมาอยู่ในช่วงที่ผมต้องให้ความสำคัญมากขึ้น แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้สะดุดกับคำถามจากน้องที่รู้จักกันเป็นอย่างดีท่านนึง ซึ่งน้องคนนี้อาจจะไม่ได้มีความคุ้นเคยกับการแต่งตัวสไตล์ classic menswear แต่น้องท่านนี้ก็เป็นหนึ่งใน follower ใน IG ของผม น้องคนนี้สงสัยว่าผมทำอะไรใน IG เลยถามผมว่า “ทำไมถึงแต่งตัวสไตล์ที่พี่แต่งอยู่?”

เนื่องจากบทสนทนานี้เกิดขึ้นบนโต๊ะอาหาร ซึ่งผมก็ตอบไปตามที่ผมนึกคำตอบได้ ณ ตอนนั้น และด้วยบริบทการทานอาหาร และดื่มไวน์ไปหลายแก้ว (เพื่อนๆ คงพอจะนึกภาพตามออก) ทำให้ผมรู้สึกว่าสิ่งที่ตอบน้องท่านนั้นไปว่า “มันเป็นความชอบส่วนตัว เป็นสิ่งที่ผมหลงไหล ชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก” นั้น มันยังไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริง ซึ่งจริงๆ แล้วมันมีเหตุผลอีกหลายๆ ข้อที่ผมนึกขึ้นมาได้ ระหว่างที่ผมเดินทางกลับบ้าน แล้วคำถามนี้มันก็เกาะอยู่ในหัวผมมาตลอด จนทำให้ผมรู้สึกว่า ผมต้องเขียนมันออกมาได้ตามนี้ครับ…

เราไม่ต้องวิ่งตามเทรนด์ หรือตามกระแสแฟชั่น

Classic Menswear in a modern environment. (photo credit: The Anthology)

เพราะขึ้นชื่อว่า classic ดังนั้น มันคือความ timeless มันไม่ใช่แฟชั่นที่เป็น seasonal ที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่ว่าการแต่งกายสไตล์นี้ ก็ไม่ใช่ว่า มันไม่มีการเปลี่ยนแปลงนะครับ แต่มันเป็นการค่อยๆ ปรับเปลี่ยน (evolving over time) ดีเทลต่างๆ ไปตามยุคสมัย โดยที่ภาพรวมยังคงเดิม

ทำให้เรามีเวลามาใส่ใจในรายละเอียด เช่นการเลือกชนิดและสีของผ้า การจับคู่สี และการ mix & match กับเสื้อผ้าที่มีอยู่แล้วในตู้เสื้อผ้าของเรา

Fabric Selection Process

การใส่ใจในรายละเอียดที่พูดถึง เช่น การเลือกประเภทของผ้าที่จะใช้กับเชิ้ต, กางเกง หรือ jacket เพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศ และ/หรือ โอกาสที่เราจะใส่มัน อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือการเลือกประเภทของรองเท้า หรือชนิดของหนังสำหรับรองเท้าที่เราจะใส่ในโอกาสต่างๆ นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน มันยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ในเราพิจารณาอีกหลายอย่างนะครับ

และการที่การแต่งตัวสไตล์นี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน การที่เราได้ศึกษา ถึงที่มา และเหตุผลในการออกแบบเสื้อผ้า และ accessories ต่างๆ จะยิ่งที่ให้เราเข้าใจการใช้งาน และสามารถประยุกต์ให้เข้ากับ context ปัจจุบัน และถูกกาละเทศะได้ดียิ่งขึ้น เพราะการที่จะเราเพียงแต่ใส่ตามรูปแบบสมัยก่อนโดยที่ไม่เข้าใจเหตุผล อาจจะทำให้การใส่เสื้อผ้าสไตล์นี้ เหมือนเราใส่ costume (เหมือนในฉากหนัง หรือ งานแฟนซี) มากกว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่เราใส่ในชีวิตประจำวัน

ทำให้เราได้รู้จัก Artisans หรือ Tailors ที่เชี่ยวชาญในการผลิตงานของตนเองอย่างแท้จริง

เนื่องจากเสื้อผ้า และ accessories ต่างๆ ในสไตล์นี้ จะมีเหล่าช่างฝีมือในการผลิตผลงานแต่ละประเภทโดยเฉพาะ และโดยส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจมายาวนาน บางแบรนด์ มีอายุมากกว่า 100 ปี แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในงานนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง จะมีบ้างเป็นบางแบรนด์ที่เกิดขึ้นมาใหม่ แต่ก็มักจะเป็นทีมงานที่เคยทำงาน เรียนรู้มาจากแบรนด์เก่าแก่ แล้วก็แยกตัวมาเปิดแบรนด์ของตนเอง โดยใส่ดีไซน์ของตนเอง และความทันสมัยเข้าไปทำให้เกิด รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยที่ยังคงยึดถือในการเลือกวัสดุที่ดีเยี่ยม และให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากในคุณภาพการผลิต ยกตัวอย่างเช่น:

ช่างทำรองเท้า: Alden Shoes Company – USA / Crockett & Jones – UK / Berwick 1707 – Spain / Baudoin & Lange – UK /Edward Green – English Master Shoemaker

ช่างทำกระเป๋า: Rutherfords – English Bridle Accessories / Acate – Japan / C.C. Filson Co. – USA

ช่างทำเนคไท: Shibumi – Firenze / Seven Fold – Italy / Vanda Fine Clothing – Singapore

ช่างตัดสูท: Liverano & Liverano – Firenze / Ozario Luciano – Napoli / B&Tailor – Seoul / Ring Jacket – Japan / ASSISI Bespoke House – Seoul / The Primary Haus – Bangkok / Borrom Handcraft Tailor – Bangkok / Jin Tonic Bespoke Suit – Bangkok / The Manners Tailor House – Bangkok

ช่างตัดกางเกง: Ambrosi Napoli – Italy / Echizenya – Osaka & Tokyo

เราสามารถเลือกซื้อสินค้า ที่ผู้ผลิตใส่ใจกับรายละเอียด และความต้องการของลูกค้า มากกว่า สินค้าประเภท Fast Fashion หรือแม้แต่จาก Luxury Brands ก็ตาม

เราคงไม่มีโอกาส ที่จะบอกกับ Zara หรือ H&M หรือ Uniqlo ว่า ช่วยปรับ pattern ของเสื้อเชิ้ต หรือ jacket ให้เข้ากับรูปร่างคนไทย หรือคนเอเชียได้ หรือจะไปบอกให้ Dior หรือ Gucci ช่วยปรับรองเท้าให้หน้ากว้างขึ้นเพื่อให้เข้ากับเท้าของคนไทย จริงอยู่ว่าสินค้า Luxury Brand เราสามารถสั่ง Customization ได้แต่ราคาก็จะสูงมากๆ

The Decorum team met Crockett & Jones at Pitti Uomo 2023

แต่เราสามารถทำได้กับเหล่า Artisans และ Tailors ผ่าน Retailers หรือ ร้าน Multi Brand ที่เลือกสินค้า เหล่านั้นมาจำหน่ายในร้าน เช่น The Decorum Bangkok, The Somchai, The Refinement, Sprezzatura Eleganza, Talisman, etc. โดยผ่านการ collaboration ระหว่างทางร้านกับทางแบรนด์ หรือผ่านโปรแกรม MTM หรือ MTO ก็ได้เช่นกัน

เราได้มีโอกาสเจอตัว ได้พูดคุยโต้ตอบกับเจ้าของแบรนด์โดยตรง ที่เป็นทั้ง Artisans และ Tailors ผ่านทาง Retailers

เนื่องจากการเลือกซื้อสินเค้าในสไตล์นี้ มีรายละเอียดค่อนข้างมาก มีตัวเลือกมากมาย ทำให้ก่อให้เกิดการพูดคุยสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการ กับทางทีมงาน ไปจนถึงเจ้าของร้าน จนก่อให้เกิดเป็นความคุ้นเคยกันเหมือนเพื่อนมากกว่าแค่ คนซื้อ และคนขาย

มากไปกว่านั้น ยังมีการจัด Trunk Show ของเหล่า Artisans และ Tailors ตลอดทั้งปี ทำให้เราได้มีโอกาสได้เจอกับ เจ้าของสินเค้านั้นๆ เช่น ทางร้าน The Decorum จะมีการจัด Trunk Show กับทาง ASSISI ทุกๆ quarter หรือล่าสุดเพิ่งมีการจัด Trunk Show กับทางกางเกงยีนส์ Resolute ไปเป็นต้น หรืออย่างทางร้าน The Refinement มีการจัด Trunk Show กับทาง Ring Jacket และที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คือ Trunk Show กับทาง B&Tailor ส่วนทางร้าน The Somchai จะมีการจัด Trunk Show กับทาง Liverano & Liverano / Ozario Luciano / Ambrosi Napoli ตลอดทั้งปี

ที่สำคัญคือ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการนี้ มีความ friendly พร้อมที่จะให้ความรู้ คำแนะนำ ให้กำลังใจมาโดยตลอด อบอุ่นมากๆ

ทุกครั้งที่ผมสงสัย มีคำถามที่อยากได้คำตอบ พอทักไปถามคนในวงการนี้ ผ่าน social media ต่างๆ จะได้รับคำตอบทุกครั้ง และทุกคนพร้อมที่จะให้ข้อมูลมากกว่าที่เราถามเสมอ และเมื่อเราโพสอะไรลงไป หรือการทำเว็บไซต์นี้ ผมก็จะได้รับกำลังใจจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มาโดยตลอด ถือว่าเป็น community ที่พร้อมที่จะต้อนรับสมาชิก หรือผู้สนใจหน้าใหม่เสมอ

เราได้สินค้าที่มีความคุ้มค่ากับเงินที่เราจ่ายไปจริงๆ (Value Proposition)

เนื่องจากเหล่า artisan หรือ tailor ในวงการนี้ ไม่ได้ลงทุนไปกับ Celebrity หรือดารา A-list เพื่อให้มาเป็น Presenter หรือ Brand Ambassador เหมือนกับที่แบรนด์ Fast Fashion หรือ Luxury Brand ต่างๆที่ลงทุนไปกับ งบ Marketing มหาศาล

เพราะฉะนั้น ราคาที่เราจ่ายไปนั้น ก็ไปลงกลับคุณภาพ ของวัสดุ และคุณภาพของงานฝีมือ และความใส่ใจในรายละเอียด กับราคาที่สมเหตุสมผลจริงๆ และอีกหนึ่งจุดที่สำคัญคือ ความคงทนอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ดี และคุณภาพที่ดีในการผลิต ทำให้เราสามารถใช้งานสิ่งของเหล่านี้ (ด้วยการดูแลรักษา ที่ถูกต้อง) ได้นานนับ 10-20 ปี

บทสรุป

และนี่ก็คือเหตุผลทั้งหมด ที่ผ่านกระบวนการคิด ทบทวน จากประสบการณ์ของผมในระยะเวลา 2-3 ปี ที่ผมเริ่มสนใจแต่งตัวในสไตล์นี้อย่างจริงจัง

แล้วเพื่อนๆ มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ผมอยากฟังความเห็นจากทุกคน ว่ามีเหตุผลอื่นๆ กันอีกมั๊ย เพื่อนๆ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ในช่อง comment ด้านล่างนี้นะครับ

สุดท้ายนี้ หากมีข้อมูลอะไรผิดพลาด หรือขอบกพร่องใดๆ ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และฝากสนับสนุนผลงานของผม และมาให้กำลังใจกันโดยการกดติดตาม IG: @mickyjicky และ @my.six.point.five.inch.wrist กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ ในโพสถัดไปครับ!!

ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก The Decorum, The Somchai, The Refinement, The Primary Haus, Filson Co., Borrom, Jin Tonic, The Manners, MDs’ Style Guide Sharing Group

มารู้จักที่มาของนาฬิการหัส W10 กันครับ ว่าทำไมผมถึงหลงรักนาฬิกาทหารจากฝั่งอังกฤษเรือนนี้ ตอนที่ 1

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในรูปแบบของนาฬิกาที่ถูกเอามาเป็นต้นแบบในการออกแบบนาฬิกาซ้ำแล้วซ้ำอีก และยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ “นาฬิกาที่ใช้ทางการทหาร” (Military Watch or Field Watch) ซึ่งต่อไปผมขอเรียกสั้นๆ ว่า “นาฬิกาทหาร” นะครับ

เนื่องด้วยต้นกำเนิดของนาฬิกาทหาร ที่ถูกออกแบบด้วยพื้นฐานหลัก คือ

  1. ต้องอ่านเวลาได้อย่างชัดเจน และรวดเร็ว (Legible)
  2. ต้องมีกลไกที่เที่ยงตรง และตัวเรือนที่ทนทาน (Dependable)
  3. ต้องสวมใส่ได้อย่างสบาย และคล่องตัว (Comfortable)
WWW Watch หรือที่เรียกชื่อเล่นกันว่า “Dirty Dozen” เรือนนี้ผลิตโดย Grana (Source: www.hodinkee.com)

จะเห็นได้ว่า ด้วยหลักการออกแบบทั้ง 3 ข้อด้านบนนั้น แทบจะเป็นหลักการพื้นฐานในการออกแบบนาฬิกาทุกเรือนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ และด้วยการยึดหลักการออกแบบเดังกล่าวจึงไม่ผิดนักที่จะพูดว่า นาฬิกาทหารนั้น เป็นนาฬิกาเพื่อการใช้งานอย่างแท้จริง (Tool Watch) โดยไม่คำนึงถึงความสวยงาม และตัดงานออกแบบที่ไม่มีความจำเป็นออกไป (Form Follow Function หรือจะเรียกว่า Form is Function ก็ยังได้)

ประวัติของนาฬิกาทหารจากฝั่งอังกฤษ

เนื่องจากนาฬิการหัส W10 นั้น มีต้นกำเนิดมาจากทางกองทัพประเทศอังกฤษ ดังนั้นในบทความนี้ผมจึงขอเล่าที่มาของนาฬิกาทางการทหารที่ใช้ในกองทัพอังกฤษเท่านั้น ว่ามีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และได้มีวิวัฒนาการต่อมาอย่างไร จนมาถึงนาฬิกา W10 ซึ่งพอเราได้ทราบถึงที่มา และเรื่องราวต่างๆแล้วจะทำให้เรายิ่งเข้าใจมากขึ้น เพราะทุกอย่างมันเกิดมาจากความจำเป็น และความเป็นความตายของชีวิตทหารในสนามรบจริงๆ

ขอแจ้งให้ทราบนะครับว่า ในประวัติศาสตร์ของนาฬิกาทหารนั้น ยังมีเรื่องราวของทางฝั่งประเทศอื่นๆ อีก เช่น กองทัพฝรั่งเศส กองทัพเยอรมัน กองทัพสหรัฐอเมริกา และกองทัพปลดปล่อยประชาชนของประเทศจีน ซึ่งจริงๆ แล้วในแต่ละประเทศก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน หากมีโอกาสผมจะเขียนถึงในอนาคตนะครับ

สงคราวโลกครั้งที่ 1 (คศ 1914-1918 หรือ พศ 2457-2461)

ระยะเวลา 4 ปี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 และในปี 2457 ประเทศไทยได้เปิดบริการ ท่าอากาศยานดอนเมือง และโรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นครั้งแรก

ก่อนหน้าสงครามจะเริ่มต้น คุณผู้ชายส่วนใหญ่ใช้นาฬิกาพก (Pocket Watch) เป็นหลัก ส่วนนาฬิกาข้อมือก็มีแล้วนะครับ แต่มีไว้สำหรับสุภาพสตรี และถือว่าเป็นเครื่องประดับ ของสวยงามของเหล่าชนชั้นสูง

The British Army in the United Kingdom 1939-45 (Source: www.iwm.org.uk)

เมื่อสงครามเริ่มต้น เหล่าทหารเริ่มเห็นความไม่สะดวกในการใช้นาฬิกาพกในสนามรบ เพราะกว่าจะหยิบนาฬิกาออกมาจากกระเป๋า เปิดฝาครอบเพื่ออ่านเวลา แล้วยังจะต้องปิด และเก็บกลับเข้ากระเป๋าอีก

ในช่วงเวลาความเป็นความตาย กับการวิ่งในสนามรบขึ้น ลง ในหลุมหรือร่องดิน (Trench) เพื่อหลบกระสุน และระเบิดจากข้าศึก จึงเริ่มมีการนำเอานาฬิกา pocket watch มาดัดแปลงโดยการเพิ่มลวด เพื่อให้สามารถนำสายมารัดไว้ที่ข้อมือ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของนาฬิกาแบบใหม่ที่เรียกว่า “Trench Watch” เป็นครั้งแรก

ตัวอย่างนาฬิกา trench watch รุ่นแรกๆ ปี 1914 ที่ดัดแปลงมาจากนาฬิกาพก จะเห็นว่าหน้าปัดยังเป็น enamel และยังไม่มีสารเรืองแสง (Source: www.anordain.com)

นาฬิกา Trench Watch ถือว่าเป็นรอยต่อระหว่าง Pocket Watch และ Wristwatch ซึ่งในเวลานั้นทหารยังต้องหาซื้อนาฬิกาเหล่านี้กันเอง ทางกองทัพและรัฐบาลยังไม่ได้มีการจัดหาให้แต่อย่างใด

ต่อมาเริ่มมีการใช้สารเรืองแสง แต้มลงบนหลักชั่วโมง และเข็มนาฬิกา (คือ Radium ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี) และใช้การบอกค่าแบบ 24 ชั่วโมง ตามรูปแบบการบอกเวลาทางการทหาร ส่วนตัวเรือนถูกออกแบบให้ป้องกันน้ำ และฝุ่น และยังมีการเสริมวัสดุป้องกันกระจกหน้าปัดแตกอีกด้วย

หลังจากที่มีการพัฒนาการออกแบบรูปแบบหน้าปัดนาฬิกาแบบต่างๆ จึงเริ่มเป็นที่ยอมรับกันว่า การใช้รูปแบบหน้าปัดที่ใช้ตัวเลข และเข็มเป็นสีขาว บนพื้นหลังสีดำนั้น เป็นการออกแบบที่ทำให้อ่านค่าชัดเจน และรวดเร็ว มากกว่าตัวเลขและเข็มสีดำบนพื้นหลังสีขาว จนกลายมาเป็นมาตราฐานของนาฬิกาทหารต่อมาจนถึงปัจจุบัน

รูปแสดงเปรียบเทียบให้เห็น รูปซ้ายเป็น trench watch จากปี 1914 และรูปขวาเป็นของปี 1918 จะถึงความแตกต่างของรูปแบบ และจะเห็นได้ว่า การใช้ตัวเลข และเข็มสีขาว บนพื้นหลังสีดำ จะทำให้อ่านค่าได้ชัดเจนและรวดเร็วกว่า (Source: www.anordain.com)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง เหล่าทหารผ่านศึกต่างเดินทางกับภูมิลำเนา พร้อมกับนาฬิกา trench watch ของพวกเขา ดังนั้นภาพลักษณ์ของนาฬิกาข้อมือที่เคยวางไว้สำหรับสุภาพสตรีเท่านั้นจึงหมดไป แต่กลับเป็นที่ยอมรับว่านาฬิกาข้อมือนั้น สามารถใส่ได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง พร้อมกับการเสื่อมความนิยมของนาฬิกา pocket watch ตั้งแต่ช่วงเวลานั้น

สงครามโลกครั้งที่ 2 (คศ 1939-1945 หรือ พศ 2482-2488)

ระยะเวลา 6 ปี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 8 และในปี 2482 สยามประเทศ เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย และประเทศไทยยังแสดงความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

21 ปี หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 นาฬิกาข้อมือเป็นที่นิยมสำหรับผู้ชายโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี ทางกองทัพอังกฤษยังมีการใช้นาฬิกา pocket watch ในกองทัพอยู่บ้าง (สำหรับนายทหาร เจ้าหน้าที่ระดับสูง) โดยใช้รหัส GSTP – General Service Time Piece สลักไว้ที่ด้านหลังตัวเรือน

ในระหว่างสงคราม เริ่มมีการใช้นาฬิกาข้อมือให้สำหรับกองทัพบกอังกฤษ ที่มีชื่อเรียกว่า ATP – Army Time Piece หรือ Army Trade Pattern ซึ่งนาฬิกา ATP ถึงแม้ว่าจะเริ่มใส่สเปคฯ พิเศษ เช่น การมองเห็นในเวลากลางคืน แต่โดยพื้นฐานหลัก ยังใกล้เคียงกับนาฬิกาสำหรับพลเรือน โดยที่ตัวเรือนส่วนใหญ่ผลิตจากทองเหลืองชุบโครเมียม (Chrome Plated Brass) และยังมีส่วนน้อยที่ตัวเรือนเป็นสแตนเลสสตีล ส่วนกลไกจะเป็นไขลาน ผลิตจากสวิส แต่จำนวนที่ผลิตให้กับกองทัพอังกฤษนั้น เทียบไม่ได้กับที่ทางสวิสผลิตให้กับทางฝ่ายอักษะ (กองทัพ เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น)

ส่วนนาฬิกาสำหรับกองทัพอากาศอังกฤษ (หลายๆ คนน่าจะคุ้นกับตัวย่อ RAF – Royal Air Force) จะมีมาตราฐาน และสเปคที่สูงกว่านาฬิกาสำหรับกองทัพบกเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักบินนั้นต้องการความเที่ยงตรงที่สูงกว่า เพื่อภารกิจสำคัญ เช่น การทิ้งระเบิด การนำทาง และรวมไปถึงการคำนวณปริมาณเชื้อเพลิง และระยะเวลาที่เหลือในการบิน

นาฬิกาสำหรับกองทัพเรืออังกฤษ (Royal Navy) ที่ใช้เป็นหลักสำหรับภารกิจสำหรับเรือดำน้ำ จะเป็นนาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) เพื่อคำนวณระยะห่างของเรือดำน้ำข้าศึก โดยใช้ชื่อรหัสย่อว่า ASDIC – Allied Submarine Detection Investigation Committee แต่บางแหล่งเห็นว่า ตัวย่อ ASD – Anti Submarine Division น่าจะถูกต้องกว่า

นาฬิกา WWW – WristWatch Waterproof ทั้งหมด 12 แบรนด์จากสวิสฯ ที่มีของฉายา Dirty Dozen (Source: www.acollectedman.com)
ตารางแสดงจำนวนที่ผลิตนาฬิกา www ของแต่ละแบรนด์ จาก Konrad Khirim’s Book “British Military Timepieces” (Source: www.acollectedman.com)

จนมาถึงช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงเวลาของ WWW – WristWatch Waterproof ซึ่งนาฬิการหัส WWW นี้ถูกผลิตบนพื้นฐานสเปคจากทาง Britrain’s Ministry of Defence (MoD) และถือว่าเป็นนาฬิกาชุดแรกที่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยทางกองทัพอังกฤษ โดยมีบริษัทผลิตจากประเทศสวิสฯ ทั้งหมด 12 แบรนด์ได้เซ็นสัญญาผลิตนาฬิกาให้กับกองทัพอังกฤษ ได้แก่ Buren, Cyma, Eterna, Grana, Jaeger Le-coultre, Lemania, Longines, IWC, Omega, Record, Timor, Vertex จึงเป็นที่มาของอีกชื่อที่ใช้เรียกนาฬิกาแบบนี้ว่า “Dirty Dozen” โดยเริ่มผลิตออกใช้งานในปี 1945 มีการประเมินไว้ว่านาฬิกา WWW ถูกผลิตออกมาทั้งหมดประมาณ 145,000 เรือน (โดยแต่ละแบรนด์ผลิตในจำนวนไม่เท่ากัน บางแบรนด์ผลิตจำนวนสูงหลักหมื่น ในขณะที่บางแบรนด์ผลิตเพียงหลักพันเรือนเท่านั้น)

สเปคจากทางกองทัพฯ สำหรับนาฬิกา Dirty Dozen ระบุไว้ว่าตัวเรือนต้องผลิตจากวัสดุสแตนเลสสตีล ต้องมีคุณสัมบัติในการกันน้ำ กลไกยังคงเป็นไขลานแต่ให้มีมาตราฐาน ความเที่ยงตรง และคุณภาพที่สูงขึ้น และยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก เช่น การใช้ตัวเลขบอกหลักชั่วโมง รูปแบบเข็ม การแต้มสารเรืองแสงสีขาว บนพื้นหลังสีดำ โดยทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่การวางรากฐานใหม่ และสร้างรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ (Iconic) ให้กับนาฬิกากองทัพอังกฤษในเวลาต่อมา

Grana คือบริษัทที่ผลิตจำนวนน้อยที่สุด 1,000-1,500 เรือน ถือเป็นตัว rare ที่สุดใน 12 แบรนด์ (Source: www.acollectedman.com)
นาฬิกา WWW จาก IWC พร้อม original box (Source: www.acollectedman.com)

บทสรุป

จะเห็นไว้ว่าหมุดหมายสำคัญ ของเรื่องราวในช่วงนี้คือ ต้นกำเนิดของนาฬิกาข้อมือสำหรับผู้ชายเริ่มเมื่อตอนต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ผมต้องขอจบตอนที่ 1 ณ ช่วงเวลาสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของนาฬิกา WWW ไว้เท่านี้ เพื่อไม่ให้บทความนี้ยาวจนเกินไป แล้วตอนต่อไปเราจะเดินทางต่อไปในช่วงสงครามเย็น ซึ่งนาฬิกา W10 ได้ถึงกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว อย่าลืมมาติดตามกันต่อนะครับ

ข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้ ผมได้ค้นคว้ามาจากหลายๆ บทความจากทางต่างประเทศซึ่งเขียนไว้อย่างดีมาก แล้วจึงมาสรุปมาให้ทุกคนได้อ่านเป็นภาษาไทย เป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นกันนะครับ ถ้าหากเพื่อนๆ สนใจอยากเข้าไปอ่านเพิ่มเติม สามารถคลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือเห็นต่างตรงไหน สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ด้านล่างได้เลยนะครับ ผมยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และหากมีข้อมูลอะไรผิดพลาด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ และฝากสนับสนุนผลงานของผม มาให้กำลังใจกันโดยการกดติดตาม IG: @mickyjicky และ @my.six.point.five.inch.wrist กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ ในโพสถัดไปครับ!!

เราใช้เหตุผล หรืออารมณ์ในการเลือกซื้อนาฬิกา?

เพื่อนๆ เคยถามตัวเองบ้างมั๊ยครับว่า “เราใช้อะไรในการตัดสินใจเลือกซื้อนาฬิกามาอยู่ในคอลเล็คชั่น?” “เราใช้กฎเกณฑ์ที่เราตั้งขึ้นมา หรือใช้อารมณ์ ความชอบล้วนๆ?”

ถ้าคำตอบคือ “ใช่” แปลว่า เพื่อนๆ มาถึงจุดที่คนชื่นชอบนาฬิกาทุกคน เคยเป็นครับ มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เราจะต้องคอยต่อสู้กับเหตุผล และอารมณ์ของเรา และในโพสนี้ ผมจะขอพูดถึงว่า เราจะปรับแนวคิดของเราให้อยู่กับหลักการทั้ง 2 อย่างนี้ได้อย่างไร

กฎเกณฑ์ และเหตุผล

(Source: www.marketing91.com)

เนื่องจากสมองของมนุษย์มีทั้งด้านที่เน้นตรรกะ และเหตุผล กับอีกด้านที่เน้นเรื่องของสุนทรียะ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่สมองของเราจะพยายามสร้างกฎเกณฑ์ และเหตุผลต่างๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะตั้งกฎของตัวเองขึ้นมาว่า เราจะเลือกเก็บเฉพาะนาฬิกาที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์เท่านั้น (Iconic Watch) หรือ บางคนอาจจะมองหาเฉพาะนาฬิกาที่มีฟังก์ชั่น complication เท่านั้น หรือในทางตรงกันข้าม บางคนอาจจะเลือกเก็บเฉพาะนาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นบอกเวลาอย่างเดียว เป็นต้น

Courtesy of Christie’s

ซึ่งผมเอง ก็มองเห็นประโยชน์ของการใช้เหตุผลประกอบในการตัดสินใจ เป็นข้อๆ ตามนี้ครับ

เป็นการสร้างความคิดที่มีแบบแผน

ถ้าเราไม่ตีกรอบความคิด หรือความอยากได้ของเรา เราคงอยากจะได้นาฬิกาเรือนนั้น เรือนนี้เต็มไปหมด ซึ่งถ้าเรามีงบประมาณไม่จำกัด ก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่ในความเป็นจริงมันคงไม่ใช่แบบนั้น และเมื่อเรามีการตีกรอบความคิด และกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน นั่นแปลว่าเราสามารถกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้นว่าเราต้องการเก็บนาฬิกา เรือนไหนบ้าง จำนวนเท่าไหร่ จะใช้เวลานานแค่ไหน และใช้เงินประมาณเท่าไหร่ ถูกมั๊ยครับ

เป็นการสร้างคุณค่าในการสะสม

เป็นที่รู้กันดีว่า การสะสมสิ่งของต่างๆ นั้นต้องใช้เวลา และเมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า ก็จะมีเรื่องราวในเราได้นึกย้อนกลับไป ดังนั้นหากเราตั้งโจทย์ให้กับตัวเอง หรือเราตั้งเป้าหมายที่ท้าทายให้กับตัวเอง จนเมื่อเราทำสำเร็จ มันยิ่งเพิ่มคุณค่า และสร้างความหมายให้กับเรื่องราวนั้นๆ มากยิ่งขึ้นไปอีก

เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ และรสนิยมส่วนตัว

เหมือนที่ผมเคยเขียนไว้ในโพสก่อนหน้านี้ว่า การเลือกสะสมนาฬิกานั้นเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวมากๆ และที่สำคัญมากๆ เลยคือ ความชอบ และรสนิยมส่วนตัวนั้นมันแปลี่ยนไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรืองแปลกที่กฎเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต โดยที่ความเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะเกิดจาก การค้นคว้าหาข้อมูลมากขึ้น ประสบการณ์ในการซื้อ การใช้งานนาฬิกาที่มากขึ้น หรืออายุของเราเองที่มากขึ้น หรืออาจจะมาจากปัจจัยภายนอกเช่น การเปลี่ยนงาน เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ การมีครอบครัว มีลูก ฯลฯ จึงสามารถพูดได้ว่า เมื่อกฎเกณฑ์ที่เราตั้งไว้มีการเปลี่ยนแปลง นั้นแปลว่าเราได้พัฒนาองค์ความรู้ และรสนิยมส่วนตัวของเราด้วยเช่นกัน

อารมณ์และความชอบ

ก่อนหน้าที่ผมจะเขียนบทความนี้ ผมบอกกับตัวเองมาตลอดว่า เราจะต้องสกัดความชอบ และอารมณ์ อย่าให้มาอยู่เหนือเหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อนาฬิกาซักเรือน จนผมได้เข้าไปดูยูทูปคลิป Watchbox’s collector conversation with Mark Cho ที่คุณ Mark Cho (IG: @markchodotcom หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน The Armoury และ Drake’s ซึ่งคุณ Mark ก็เป็นนักสะสมนาฬิกา ที่มีนาฬิกาในคอลเล็คชั่นที่น่าสนใจมากๆ ด้วย) ให้สัมภาษณ์กับ คุณ Tim Mosso (IG: @tim_mosso Director of Media & Watch Specialist ของเว็บไซต์นาฬิกาชื่อดัง Watchbox) ได้อย่างน่าสนใจมากๆ

คุณ Mark ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “เราควรจะต้องมีโอกาสได้ครอบครองนาฬิกาเรือนนั้นๆ ในช่วงระยะเวลานึง มันจึงไม่ผิดที่เราจะตัดสินใจซื้อ ใช้เงินกับสิ่งที่เรายังไม่แน่ใจ เพื่อเราจะได้ใช้เวลา เพื่อให้เข้าใจมันมากขึ้น เพราะว่าการที่เราอ่าน หรือดูรีวิวต่างๆ หรือแม้กระทั่งการที่ได้ไปเห็น ไปจับเรือนจริงๆ ที่ช้อป ก็ยังไม่เพียงพอ เราควรที่จะต้องได้ใช้งานมันจริงๆ ใช้ชีวิตประจำวันของเรา แล้วถึงจะรู้ว่านาฬิกาเรือนนั้น มันเหมาะกับเราจริงๆ หรือไม่ และที่สำคัญ ความชอบนาฬิกามันเป็นเรื่องส่วนบุคคล ดังนั้นมันควรที่จะต้องเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเราได้จริงๆ”

ผมนั่งฟังบทสัมภาษณ์นี้อยู่หลายรอบ มันสะกิดใจผมมากจนผมถึงกับต้องจดลงในสมุดบันทึกส่วนตัว เพื่อทำความเข้าใจกับมันอยู่พักใหญ่ จนเมื่อผมเข้าใจมันจริงๆ แล้ว เหมือนมีคนมาเปิดประตูอีกบานให้เราเข้าไปอยู่ในแนวคิดใหม่ ที่เรานึกไม่ถึงมาก่อน

(Source: equestasia.au)

จากที่ผมพยายามไม่ให้อารมณ์ และความตื่นเต้นมาอยู่เหนือเหตุผล ผมเริ่มเปิดใจ และเปิดโอกาสให้ตัวเอง ไม่ให้ตัวเรายึดติดกับกฎเกณฑ์ หรือตัวเลข ใน spec sheet มากจนเกินไป เพื่อให้ได้ลองผิด ลองถูก และรู้จักกับนาฬิกาที่เหมาะสมกับเราจริงๆ

บทสรุป

ในท้ายที่สุดแล้ว เราควรจะ enjoy ไปกับงานอดิเรกนี้ อย่าไปเครียดกับมันจนเกินไป สำหรับผมแล้วการได้หาข้อมูล เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้รู้จักเพื่อนๆ ที่สนใจนาฬิกาเหมือนกัน นั่นสำคัญกว่าการเลือกซื้อนาฬิกาเสียอีก แล้วการสะสมนาฬิกานั้น จะมีความหมายกับเรามากยิ่งขึ้น และยังเป็นการพัฒนาความรู้ รสนิยม สไตล์ส่วนตัวของเราอีกด้วย

หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะ ข้อติชม เห็นด้วย หรือเห็นต่างตรงไหน สามารถเขียนมาในช่องคอมเม้นท์ด้านล่างได้เลยนะครับ ยินดีรับฟังความเห็นจากทุกๆ คน และฝากสนับสนุน ผลงานของผมโดยการกดติดตาม IG @mickyjicky และ @my.six.point.five.inch.wrist ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วเจอกันใหม่ในโพสถัดไปครับ!!